0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 451 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 8,289,435 ครั้ง
Online : 125 คน
Photo

    ความรู้คดีแรงงาน

    2013-01-12 13:51:47 ใน คดีแรงงาน » 1 187824 การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน
     
    ลักษณะพิเศษของการดำเนินคดีแรงงาน
    การดำเนินคดีแรงงาน โจทก์และจำเลยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าการฟ้อง การส่งหมาย การสืบพยาน หรือการบังคับคดี โดยเฉพาะการสืบพยานที่ศาลแรงงานเรียกมา ศาลจะเป็น ผู้จ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักให้แก่พยานเอง
     
    การพิจารณาคดีแรงงาน ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นโจทก์และจำเลยจึงควรเตรียม พยานหลักฐาน(ถ้ามี) ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที
     
    การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลเช่นว่านี้ โดยละเสียซึ่งทิฐิมานะและพร้อมที่จะรับข้อเสนอที่สมควรของอีกฝ่ายหนึ่งหรือของศาลได้ตลอดเวลา
     
    ขั้นตอนในการดำเนินคดี
    นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน หากประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็อาจยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาล
     
    เมื่อศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว จะกำหนดวันพิจารณา ออกหมายเรียกจำเลย และนัดโจทก์ให้มาศาลในวันดังกล่าว
    เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องไว้แล้ว จะยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้
     
    ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ถ้าโจทก์ไม่มาศาลจะจำหน่ายคดี แต่ถ้าจำเลยไม่มา ศาลจะพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ในกรณีที่โจทก์และจำเลยมาพร้อมกัน ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะกำหนดว่ามีประเด็นข้อพิพาทอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกำหนดให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อไป
    ในการสืบพยาน ศาลจะดำเนินการติดต่อกันไปจนเสร็จคดี หากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อน ก็จะเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเจ็ดวัน
     
    เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยอาจแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งได้นำสืบหรืออ้างอิงมา ศาลจะทำคำพิพากษาแล้วอ่านคำพิพากษานั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันสืบพยานเสร็จ
     
    การอุทธรณ์คดีแรงงาน
    คดีแรงงานนั้นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย ซึ่งได้แก่การคัดค้านว่าตัวบทกฎหมายที่ศาลแรงงานยกขึ้นอ้างอิงตีความ หรือนำมาปรับใช้กับเรื่องที่พิพาทกันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งได้แก่พฤติการณ์หรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคดีว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างไรนั้น จะอุทธรณ์ว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างอื่นผิดไปจากศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ไม่ได้ 
     
     
     
     
    ขั้นตอนการอุทธรณ์
     
    หลักเกณฑ์การอุทธรณ์
     
    ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมวด 4 อุทธรณ์ มาตรา 54กำหนดหลักเกณฑ์ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้ เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
     
    การอุทธรณ์นั้น ให้ทำเป็นหนังสือต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้ศาลแรงงานส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ฝ่ายนั้นได้รับสำเนาอุทธรณ์
     
    เมื่อได้มีการแก้อุทธรณ์แล้ว หรือไม่แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนด ให้ศาลแรงงานรีบส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา มาตรา 55 การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลแรงงาน แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจทำคำขอยื่นต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยชี้แจงเหตุผลอันสมควร เพื่อให้ศาลฎีกาสั่งทุเลาการบังคับไว้ได้
     
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกา โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาหลักประกันไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง มาตรา 31 ที่ว่าให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
     
     
    ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เมื่อมีคำฟ้องอุทธรณ์
    เมื่อมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งยื่นเข้ามา สิ่งที่จะต้องตรวจก็คือ
    1.  อุทธรณ์หรือคำสั่งนั้น ได้มีการยื่นเข้ามาภายในกำหนด 15 วันหรือไม่
    2.  มีการขอขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่ง และได้ยื่นเข้ามาภายในกำหนดหรือไม่
    3.  วันที่ยื่นอุทธรณ์ตรงกับวันเดือนปีปัจจุบันหรือไม่
    4.  ท้ายอุทธรณ์มีการลงลายมือชื่อ ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือไม่
    5.  เรียกเก็บสำเนาอุทธรณ์ให้ครบตามจำนวนคู่ความ
    ในกรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องตรวจดูว่าคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายใน 15 วันหรือไม่ และต้องให้ผู้ยื่นวางเงินตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาล
     
    ขั้นตอนการวางหลักประกัน
    1. กรณีวางเงินสด นำคำร้องขอวางเงินยื่นขอวางเงินได้ที่งานการเงิน
    2. กรณีวางหลักประกันอื่น
    วางโฉนดที่ดิน คู่ความต้องนำโฉนดที่ดินตัวจริง หนังสือประเมินจากกรมที่ดิน พร้อมสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือประเมินจากกรมที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวมาแสดงด้วยพร้อมทั้งทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาล ถ้าเจ้าของที่ดินไม่สามารถมาทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาลได้ ก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งนำสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนมาแสดงต่อศาลด้วย
     
    วางบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำ นำสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมหนังสือรับรองจากธนาคารเพื่อยืนยัดยอดเงินในบัญชีและอายัดเงินในสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมทั้งนำสำเนาสมุดบัญชีคู่ฝากและสำเนาหนังสือรับรองจากธนาคาร
     
    เมื่อมีคำสั่งอุทธรณ์ถูกต้องแล้ว ประทับตรารับฟ้องแล้วนำลงบัญชีสารบบอุทธรณ์ จากนั้นเบิกสำนวนจากงานเก็บแดง หรืองานส่วนช่วยพิจารณาคดี แล้วนำเสนอผู้พิพากษาสั่ง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้วลงผลคำสั่ง แล้วส่งไปออกหมาย
    กรณีที่มีการยื่นคำร้อง หรือคำแก้อุทธรณ์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับอุทธรณ์
     
                                            การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย 
    ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเป็นคนธรรมดาก็ได้ นิติบุคคลก็ได้ แต่ลูกจ้างจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะเป็นลูกจ้างไม่ได้ หากมีการทำสัญญาจ้างระหว่างนิติบุคคลกับนิติบุคคล สัญญานั้นก็จะเรียกว่า สัญญาจ้างบริการหรือสัญญาประเภทอื่นๆ ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
                   ลูกจ้างตามความหมายที่กล่าวไว้ตอนต้นนั้น หมายถึง ลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดเวลาจ้างไม่แน่นอน ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาจ้างพิเศษ และลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน ทั้งหมดนี้คือลูกจ้างทั้งนั้น
    ถ้าจะให้ลูกจ้างออกจากงานต้องบอกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนถึงการจ่ายเงินค่าจ้าง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างในเดือนถัดไปอีกหนึ่งเดือน และถ้าเลิกจ้างแล้วต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างอีก
                   (1) สามสิบวัน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานมาครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปี
                   (2) เก้าสิบวัน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานมาครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี
                   (3) หนึ่งร้อยแปดสิบวัน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานมาครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี
                   (4) สองร้อยยี่สิบวัน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานมาครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปี
                   (5) สามร้อยวัน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานครบสิบปีขึ้นไป
    กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง กรณีให้ลูกจ้างออกจากงานคือลูกจ้างกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
                   (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญา โดยเจตนาแก่นายจ้าง
                   (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
                   (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
                   (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่ง และนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงไม่จำเป็นต้องเตือน
                   (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน
                   (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษประมาทหรือความผิดลหุโทษ
     

    โอ๊ต
    2018-05-24 11:44:13
    แล้วถ้ากรณีทะเลาะวิวาทกับลูกจ้างด้วยกันแต่ถูกเลิกจ้างคนเดียวจะเรียกร้องเงินชดเชยได้ไหมครับ

    กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ