0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 436 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-03-14
จำนวนครั้งที่ชม : 7,513,746 ครั้ง
Online : 76 คน
Photo

    หมิ่นประมาท ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2017-10-15 16:16:01 (IP : , ,171.97.88.19 ,, Admin)
    Admin Edit : 2018-01-03 18:54:42

    หมิ่นประมาท ตามกฎหมายใหม่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

    ก่อนหน้านี้เมื่อมีการหมิ่นประมาทกันใน เฟสบุค หรือ สื่อออนไลน์ ผู้เสียหายมักจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนในข้อหาหรือการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ม.14 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงและเป็นความผิดอันไม่อาจยอมความ หรือใช้ภาษาชาวบ้านว่าเคลียร์กันไม่ได้นั่นเอง ที่ผ่านมาจึงมีคดีขึ้นสู่ศาลกันมาก

    โดยจำเลยมักจะถูกฟ้องในฐานความผิด 2 ฐานด้วยกัน คือ ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 กับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ซึ่งบทบัญญัติตามกฎหมายเก่า พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังไม่ได้บัญญัติระบุเจาะจงชัดแจ้งว่าความผิดฐานหมิ่นประมาท จะเข้าลักษณะความผิดตาม พรบ.ดังกล่าวหรือไม่ จึงเกิดเป็นปัญญาในการตีความกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่ามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่นักกฎหมายจะยึดถือนำมาเป็นบรรทัดฐานในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

    ที่ผ่านมาเรามีคดีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องใกล้ตัวเช่น “คดีภูเก็ตหวาน” ที่ถูกฟ้องเรื่องหมิ่นประมาทความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพราะได้นำข้อความในบทความข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์มาตีพิมพ์บทความลงในเวปไซค์ภูเก็ตหวาน และเผยแพร่บทความดังกล่าว

    โดยศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์ขออนุญาตสรุปประเด็นสั้นๆ คือ มิใช่ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่จำเลยเขียนขึ้นเอง ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวคอมพิวเตอร์ เพราะไม่ปรากฏข้อความใดเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้อง 

    โดยศาลได้วินิจฉัยไว้ตอนท้ายว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัตินี้มิได้มุ่งเจตนาลงโทษผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วในประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พิพากษายกฟ้อง

    แต่คดีดังกล่าวก็ยังมิใช่บรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลฎีกาที่นักกฎหมายจะยึดถือนำมาเป็นบรรทัดฐานในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทั้งก่อนหน้านี้ยังมีอีกมากมายหลายคดี และเป็นที่ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันมากมายในบรรดานักวิชาการ นักกฎหมายและประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าใช่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือไม่

    ต่อไปนี้นับแต่มีการออกกฎหมายใหม่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการโพสต์ การแชร์ ข้อความในเฟสบุค หรือสื่อออนไลน์ หรือคอมพิวเตอร์ดังนี้

    “มาตรา 14” ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    (1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนอันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา”

    (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)

    จะเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายใหม่เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากรณีที่การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 14 (1)

    อย่างไรก็ตามในมุมมองและความเห็นผู้เขียนการหมิ่นประมาททางโลกโซเชี่ยล เฟซบุคทั้งหลายนั้นก็ยังเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท แม้จะเป็นความผิดอันอาจยอมความได้ นั่นคือเคลียร์กันได้ แต่กว่าจะเคลียร์กันได้ท่านก็อาจจะมีอาการแสนสาหัส อาจต้องจ่ายเงินเป็นแสนเป็นล้านในการยอมความกันก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีอย่าไปโพสต์ถึงเรื่องคนอื่นในทำนองทำให้เขาได้รับความอับอาย เสียชื่อเสียง เกลียดชัง ไม่ว่าเขาจะเป็นเมียน้อยใคร เป็นชู้ใคร โกง ทุจริต หรือ ประพฤติชั่วขนาดไหน แม้จะเป็นความจริง





    นายวุฒิชัย บุญแทน
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 1 เมื่อ » 2018-03-16 12:57:16 (IP : , ,27.55.88.87 ,, )
    ในการโพสต์ โดยที่เราไม่ได้เอ่ยชื่อ เอ่ยนาม ถือว่ามีความผิดหรือไม่
    Please login for write message