0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-22
จำนวนครั้งที่ชม : 7,629,708 ครั้ง
Online : 55 คน
Photo

    อุทธรณ์ฎีกาคดีอาญา คดียาเสพติดให้ยกฟ้องงชนะคดี


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2018-11-20 15:19:33 (IP : , ,1.47.101.209 ,, Admin)
    การอุทธรณ์ฎีกาคดีอาญา/คดียาเสพติดให้ชนะคดี

    การอุทธรณ์ฎีกาคดีอาญาและยาเสพติดต้องมีสาระสำคัญในอุทธรณ์และฎีกาดังนี้

    1. โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไร
    2. ต้องชัดแจ้งว่า โต้แย้งคำพิพากษาของศาลตรงไหน อย่างไร
    3. ต้องเป็นสาระแก่คดี  หมายถึง อุทธรณ์นั้นอาจทำให้ผลของคำพิพากษาอาจเปลี่ยนแปลงไปได้  ถ้าศาลเห็นตามคำอุทธรณ์ฎีกา
    4. เป็นข้อที่ยกว่า กล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เช่น เคยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้  เคยถามค้านหรือจำเลยเคยเบิกความหรือเคยถามพยานโจทก์ไว้ในศาลชั้นต้น  จะมายกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ในภายหลังไม่ได้

    ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    มาตรา 195 
     
    ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
    ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม

    รวมคำพิพากษาการอุทธรณ์ฎีกาคดีอาญา/คดียาเสพติดให้ชนะคดีรวมคำพิพากษาการอุทธรณ์ฎีกาคดีอาญา/คดียาเสพติดให้ชนะคดี
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540

    ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2537
    จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาว่า "ขอยื่นฎีกาต่อศาล เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำผิดในคดีนี้แต่ประการใด ถึงแม้ในการต่อสู้คดีของจำเลยนั้น พยานและคำให้การของจำเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ก็ตาม แต่จำเลยก็ขอยืนยันคำให้การเดิมที่ได้ให้การไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาแต่อย่างใด ทั้งมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ไม่ถูกต้องในข้อใดอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 เช่นนี้ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2548
    ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 216 และ 225 วางหลักไว้ว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ แต่ฎีกาของจำเลยเพียงบรรยายว่าเหตุผลที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ทั้งหมดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อปลีกย่อยไร้สาระนั้น จำเลยเห็นว่าล้วนแล้วแต่จะเป็นแก่นสาระน่าตั้งเป็นข้อสังเกตถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าได้ดำเนินการไปอย่างสุจริตโปร่งใสหรือไม่ และมีคำขอในท้ายฎีกาเพียงขอให้ศาลฎีกาให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดขึ้นคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2526
    อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงการชั่งน้ำหนักในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
    ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น โจทก์มิได้แสดงโดยชัดเจนว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร หาเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ไม่
    การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่เป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499มาตรา 22 ทวิ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2528
    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด จำเลยฎีกาโดยอ้างคำพิพากษาศาลชั้นต้น และว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงขอฎีกาโดยขอถือเอาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นข้อฎีกาของจำเลย ดังนี้ฎีกาของจำเลยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายอย่างไร เพียงแต่ขอถือเอาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นข้อฎีกาของจำเลยถือได้ว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง,195,225 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2535
    อุทธรณ์ของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น จำเลยอุทธรณ์เพียงว่า คำฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม โดยไม่ระบุข้อเท็จจริงให้เห็นว่าเคลือบคลุมตรงไหน อย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2513
    ฎีกากล่าวข้อความแต่เพียงว่า จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยคำพิพากษาศาลล่างจึงฎีกาเพื่อศาลสูงได้วินิจฉัยในเหตุผลของพยานทั้งสองฝ่ายประกอบคำพิพากษาล่างที่จำเลยฟังว่ายังมีการคลาดเคลื่อนต่อเหตุผลข้อเท็จจริงอยู่หลายประการ...... ที่จำเลยยังไม่สามารถคัดสำนวนไปประกอบทำฎีกาทันภายในกำหนดอายุความฎีกา จึงขอยื่นฎีกาไว้แต่เพียงย่อ ดังนี้ ฎีกามิได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนข้อใดเป็นฎีกาที่มิได้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193, 225 ไม่เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541
    ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
         
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2547

    คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพียงกรรมเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฎีกาของจำเลยเพียงแต่กล่าวว่าการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยเพิ่มอีกข้อหาหนึ่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ใช้ดุลพินิจว่าจะลงโทษกระทงดังกล่าวเท่าใดและจะลดโทษให้เท่าใด เป็นการพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2512
    คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือออกโฆษณาจริง แต่ข้อความนั้นไม่ใช่เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาลหรือละเมิดอำนาจศาล จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือหมิ่นประมาทตามฟ้อง และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ส่วนที่อุทธรณ์ว่าฟ้องเคลือบคลุมนั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรรับไว้วินิจฉัย

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2550
    การตรวจค้นและการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวน ไม่มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและอำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์ ทั้งหามีผลทำให้การแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่ การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514
    ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์ โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริงศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่    ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
         
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103 - 2104/2514

    คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าได้สอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้
    เงินอากรค่าใบอนุญาตฆ่าสัตว์ โค กระบือ ซึ่งเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เมื่อราษฎรนำมาชำระ และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับมอบไว้แล้ว หากจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนก็เป็นการเบียดบังเอาเงินของรัฐไม่ใช่เบียดบังเอาเงินของราษฎรรัฐบาลเป็นผู้เสียหายโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้แม้ราษฎรผู้ชำระเงินจะมิได้ร้องทุกข์
    ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายอำเภอในจังหวัดทุกอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและให้เจ้าหน้าที่สรรพากรอำเภอทุกคนเป็นผู้ช่วยนายอำเภอของตนเมื่อจำเลยซึ่งเป็นเสมียนแผนกสรรพากรทราบคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดและรับมอบหมายเรื่องนี้มาแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปฏิบัติราชการในเรื่องนี้แล้ว เพราะฐานะของเจ้าพนักงานเกิดจากการรับหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้    

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2935/2523
    ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิได้มีการสอบสวนในความผิดที่ฟ้องจำเลยนั้นเป็นข้อที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกาทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องแล้วว่ามีการสอบสวน และตามสำนวนก็ไม่มีข้อเท็จจริงใด ที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2536
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่มีอายุกว่า 17 ปีแต่ยังไม่เกิน 20 ปี โดยลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยได้แม้ปัญหานี้จะมิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นก็ตาม

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2547
    จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ว่าน้ำหนักเมทแอมเฟตามีนและปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถูกต้อง ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่และมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
    ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 22 ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแก่ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 19 ที่คณะอนุกรรมการดังกล่าววินิจฉัยว่าเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด และให้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบเพื่อพิจารณามีคำสั่งชะลอการฟ้อง ซึ่งเป็นวิธีการก่อนการฟ้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการยื่นฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดได้

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547
    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่คนละตลอดชีวิต จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา นอกจากวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำเลยทั้งสี่กระทงละ 25 ปี รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 50 ปี ก็มิใช่การพิพากษายืน คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสี่มีสิทธิฎีกาได้ แต่ก็ต้องฎีกาในปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ และปัญหาเรื่องขอให้ลงโทษสถานเบาซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และจำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับสารภาพถือว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
    ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8616/2547
    จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบรับสารภาพความผิดตามฟ้องจนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแล้ว การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังตามคำรับสารภาพ ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี มิได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตอันจะทำให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2552
    ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่ารับจ้างคนรู้จักกันบรรทุกไม้ของกลาง จึงมีความผิดเพียงสนับสนุนการกระทำความผิดของบุคคลอื่น และจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ซื้อไม้ของกลางจากบุคคลอื่นเนื่องจากต้องการไม้เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย จึงเป็นเพียงการสนับสนุนให้เจ้าของไม้ของกลางเดิมกระทำความผิดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างในฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
    โจทก์ฟ้อง่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมปริมาตร 3.09 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตรอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ไม่เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2541
    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชาและฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี โดยปรับบทว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานพยายามส่งออก ให้ลงโทษฐานพยายามส่งออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยยังคงให้ลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชา และฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี แต่ปรับบท เป็นว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานนำเข้า ให้ลงโทษฐานนำเข้าอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวคือนำยางกัญชา ของกลางจำนวนเดียวกันจากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินเพื่อไปเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยจำเลยครอบครองยางกัญชาจำนวนดังกล่าวต่อเนื่องกันจนกระทั่งถูกจับการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมียางกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าและพยายามส่งออกยางกัญชาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่20 ธันวาคม 2539 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ก. จำเลยมียางกัญชา จำนวน 15 แท่ง น้ำหนัก 4,974 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ข.จำเลย นำยางกัญชาตามข้อ ก. จากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบิน และ ค. หลังจากนั้น จำเลยส่งยางกัญชาซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองตามข้อ ก. และนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามข้อ ข. ออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินไปยังเขตบร


    Please login for write message