0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 436 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-03-14
จำนวนครั้งที่ชม : 7,509,993 ครั้ง
Online : 57 คน
Photo

    สิทธิบอกเลิกสัญญา


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2019-12-24 14:58:37 (IP : , ,49.49.235.195 ,, Admin)
    Admin Edit : 2019-12-24 15:26:28
    Admin Edit : 2019-12-24 15:23:00

    การเลิกสัญญา

              เมื่อมีสัญญาเกิดขึ้น สิทธิของคู่สัญญาที่จะยกเลิกสัญญานั้นจะต้องเป็นไปตามข้อสัญญาหรือตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยที่ไม่มีข้อสัญญาหรือกฎหมายที่ให้สิทธิไว้ไม่ได้ หากได้ทำไปก็ไม่มีผล

              มาตรา 386  "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

              แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่"

              สิทธิเลิกสัญญาตามข้อสัญญา

              เมื่อคู่สัญญาตกลงทำสัญญากันไว้อย่างไร ปกติแล้วก็ต้องบังคับไปตามนั้น

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2509  สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทโดยจำเลยเป็นผู้สร้างและยอมให้ตึกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 9 ปี อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนและมีข้อตกลงในสัญญาเช่าด้วยว่า ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันทีเมื่อผู้เช่าผิดสัญญาแม้ข้อหนึ่งข้อใด นั้น หากต่อมาผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า 4 งวดติดกัน ผู้ให้เช่าย่อมบอกเลิกสัญญาเช่าได้เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อได้ตกลงไว้ในสัญญาเช่นนี้ กำหนดเวลาเช่า 9 ปีก็ต้องอยู่ภายในข้อตกลงนั้นด้วย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า 4 งวดติดกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามข้อตกลงนั้น

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2526   แม้สัญญาเช่าจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่มีข้อสัญญาระบุว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เมื่อจำเลยผู้เช่าผิดสัญญา โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

              แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะทำขึ้นเป็นหนังสือ แต่การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือด้วย

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2504   การตกลงเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน และคืนเงินมัดจำกันนั้น ไม่ใช่เป็นการปลดหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ ฉะนั้น เพียงแต่มีการแสดงเจตนาต่อกัน ก็ย่อมสมบูรณ์

              การแสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยาย

              พฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฎิบัติต่อกันที่แสดงให้เห็นว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาที่จะเลิกสัญญา เช่น

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4645/2540   จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทได้ แต่เมื่อไม่มีข้อกำหนดเวลากันไว้ โจทก์จึงใช้ทางได้ตราบเท่าที่จำเลยยินยอม หากจำเลยไม่ยินยอมโจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ทาง เพราะสิทธิของโจทก์เกิดจากความยินยอมของจำเลยแม้การที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์สร้างทางได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือ แต่ในกรณีบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือจำเลยจะบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยนำลวดหนามขึงกั้นทางพิพาทไว้จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539   จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์น้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่ง เป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญากรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ตาม ... มาตรา 466 วรรคสอง แล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2539   ก่อนทำสัญญาเช่านั้นจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จแล้วเพียงแต่ยังมิได้ตบแต่งเท่านั้น โจทก์ตกลงจะชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยเป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยโจทก์จะจ่ายให้ในวันจดทะเบียนการเช่า แม้ตามสัญญาเช่าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าเมื่อใดแต่โจทก์กับจำเลยยอมรับกันว่าได้ตกลงกันจะไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 5มกราคม 2535 ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าอีก 100,000บาท กับเงินช่วยค่าก่อสร้างจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่จำเลย ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่า แต่ปรากฏว่าในวันนัดจดทะเบียนการเช่าดังกล่าว โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่ 100,000 บาท และเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยเองก็ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่ากันอีกต่อไป ทั้งหลังจากนั้นโจทก์และจำเลยต่างปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการเช่าและมิได้เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา จนเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2535 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขอบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่โจทก์ กรณีเช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไปฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนั้น โจทก์และจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ ตาม ...มาตรา 391

              การแสดงเจตนาเลิกสัญญาไปแล้วจะถอนเสียไม่ได้

              ตามมาตรา 356 วรรคสองนั้น หมายความว่า การแสดงเจตนานั้นจะต้องสมบูรณ์แล้ว แต่ถ้ามีการถอนการแสดงเจตนาเลิกสัญญาเสียก่อนที่การแสดงเจตนาจะมีผลสมบูรณ์อย่างนี้ย่อมถอนได้

              สิทธิเลิกสัญญาโดยกฎหมาย

              . การเลิกสัญญากรณีที่เรื่องกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา

              กรณีตามมาตรา 387  "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้"

              กรณีใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 387 เป็นเรื่องกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา จึงต้องมีการกำหนดเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ก่อน เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่บอกกล่าวไปแล้วแต่ยังไม่มีการชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2515  หนังสือสัญญาจะซื้อขายมิได้ระบุไว้ว่า  ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญา ไม่ผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นรายเดือนตามกำหนด ให้ผู้จะขายใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ทันที  และปรากฏว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาผ่อนชำระราคาเป็นสารสำคัญตามสัญญา ฉะนั้น แม้ผู้จะซื้อผิดสัญญา  ไม่ผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นรายเดือนตามวันที่กำหนดไว้ ผู้จะขายก็จะบอกเลิกสัญญาทันทีมิได้ หากแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โดยต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร  บอกกล่าวให้ผู้จะซื้อชำระหนี้ราคาทรัพย์ที่ ติดค้างอยู่  ต่อเมื่อผู้จะซื้อไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ผู้จะขายจึงจะเลิกสัญญาได้

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539   วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2534 ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญา ซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติ ...มาตรา 387 กล่าวคือ เมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภาระจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญา เป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วย โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว โจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขาย การบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมาย .20 ถึง .25 จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000,000 บาท และเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน 2,000,000 บาท เพราะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546   สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมีใจความในข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีกเป็นจำนวน 1,433,190 บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน และข้อ 2.4 มีว่า ส่วนที่เหลือจากการชำระตามข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 เป็นเงินจำนวน 3,694,110 บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ แม้สัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านไปแล้วเสร็จไว้ก็ตาม ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ให้ได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระจากโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างบ้านแต่อย่างใด โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลยถึงความคืบหน้าในการปลูกสร้างบ้าน และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ของการปลูกสร้างบ้าน แต่จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้านอย่างใด โจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2539   เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกเป็นต้นมาเกินกว่า 2 งวดติดต่อกัน โจทก์ให้พนักงานเร่งรัดหนี้สินติดตามทวงถาม จำเลยที่ 1 ก็นำเงินมาชำระให้โจทก์บางส่วน ซึ่งโจทก์ยอมรับไว้และยอมให้จำเลยที่ 1 ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป ต้องถือว่าโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้เป็นค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหลังจากผิดนัดแล้ว แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงปฏิบัติต่อกันเสมือนหนึ่งว่าสัญญาเช่าซื้อยังใช้บังคับอยู่ โดยมิได้ถือกำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็น