0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 451 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 8,289,623 ครั้ง
Online : 144 คน
Photo

    ค่าเสียหายทางละเมิด


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2022-02-26 20:33:28 (IP : , ,49.49.238.252 ,, Admin)
    ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
     
    ·   ค่าสินไหมทดแทนในกรณีทำให้เขาตาย
    ๑. ค่าปลงศพ (มาตรา ๔๔๓ วรรคหนึ่ง)
    ๒. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น (มาตรา ๔๔๓ วรรคหนึ่ง)
    ๓. ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสอง)
    ๔. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสอง)
    ๕. ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสาม)
    ๖. ค่าขาดแรงงาน (มาตรา ๔๔๕)
    ค่าปลงศพ
    (๑) ผู้ที่มีอำนาจจัดการศพเป็นไปตามมาตรา ๑๖๔๙
    มาตรา ๑๖๔๙ ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น
    ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาท มิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น
    ·   ค่าขาดไร้อุปการะ
    ค่าขาดไร้อุปการะต้องเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สามีภริยามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกัน (มาตรา ๑๔๖๑) หรือบิดามารดาต้องอุปาระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (มาตรา ๑๕๖๔) บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะที่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (มาตรา ๑๕๖๔) บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (มาตรา ๑๕๖๓)
    ค่าขาดแรงงาน
    มาตรา ๔๔๕ ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่า บุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย
    ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย (กรณีไม่ถึงแก่ความตาย)
    ๑. ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป (มาตรา ๔๔๔ วรรคหนึ่ง)
    ๒. ค่าเสียความสามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (มาตรา ๔๔๔ วรรคหนึ่ง)
    ๓. ค่าขาดแรงงาน (มาตรา ๔๔๕)
    ๔. ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน (มาตรา ๔๔๖)
    ·   ค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน
    ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี                 ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้(มาตรา ๔๔๖)
    มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
     
    อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
    การใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ครองสังหาริมทรัพย์
    มาตรา ๔๔๑ ถ้าบุคคลจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ เพราะเอาสังหาริมทรัพย์ของเขาไปก็ดี หรือเพราะทำของเขาให้บุบสลายก็ดี เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไป หรือขณะที่ทำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้กระทั่งบุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิอย่างอื่นเหนือทรัพย์นั้น เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตนหรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน
    การจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงกลับคืนดี
    บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหาย หรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้ (มาตรา ๔๔๗)
    อายุความ
    สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด (มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง) แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ (มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง)
    หมายเหตุ: ค่าจ้างทนายความในการฟ้องร้องคดีเรียกค่าเสียหายทางละเมิด ไม่เป็นค่าเสียหายทางละเมิดตามกฎหมาย ไม่สามารถเรียกได้นะครับ!!!!!! 



    arsipsumut
    ข้อความที่ 1 เมื่อ » 2022-12-18 15:06:46 (IP : , ,103.30.197.26 ,, )
    https://www.arsipsumut.com
    https://heylink.me/warung225/
    https://heylink.me/rtp-warung-225
    https://heylink.me/warung-225/
    https://heylink.me/warung-gacor-225/
    https://heylink.me/warung-maxwin-225/
    https://heylink.me/warung225-gacor/
    https://heylink.me/warung225-MAXWIN/
    https://heylink.me/warung225-JACKPOT/
    https://heylink.me/warung225-MODAL-RECEH/
    https://heylink.me/warung225-JAMIN-MENANG/
    Please login for write message