0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-26
จำนวนครั้งที่ชม : 7,641,969 ครั้ง
Online : 66 คน
Photo

    หลักกฎหมายจำนอง


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-01-28 08:59:38 (IP : , ,171.6.231.205 ,, Admin)
    Overview of Changes to “FAR/BAR” Contracts Effective November 1, 2021 ...
    หลักกฎหมายจำนอง
    มาตรา 702 บัญญัติว่า“อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่”
    องค์ประกอบของสัญญาจำนอง
    1. ต้องมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เนื่องจากการจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้รูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับการค้ำประกัน เพียงแต่ว่ารูปแบบของการประกันการชำระหนี้นั้นเป็นการเอาทรัพย์สินเป็นประกันมีใช่บุคคล แต่เมื่อจำนองเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงต้องผูกติดกับสัญญาประธาน หากไม่มีสัญญาประธานหรือสัญญาประธานไม่สมบูรณ์ ก็จะมีจำนองไม่ได้
    2. ผู้รับจำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่ผู้รับจำนองเพื่อประกันการชำระหนี้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนอง การจำนองเป็นการเอาทรัพย์เข้าผูกพันเพื่อการชำระหนี้โดยการจดทะเบียนจำนอง จึงไม่จำเป็นต้องเอาทรัพย์ส่งมอบ ให้แก่ผู้รับจำนอง แต่จะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในทางทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์นั้น เช่น ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน เป็นต้น
    3 ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ กล่าวคือ จำนองนั้นเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนือเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
    4 เจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนถึงแม้ว่าทรัพย์จำนองจำนวนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว กล่าวคือ จำนองนั้นเป็นทรัพยสิทธิ มีเหนือตัวทรัพย์ที่จำนองติดกับทรัพย์ที่จำนองไป หากมีการจำนองจะถูกต้องแล้วจำนองย่อมผูกติดอยู่กับทรัพย์ที่จำนอง แม้ว่าทรัพย์นั้นจะถูกโอนไปยังบุคคลอื่นหรือบุคคลภายนอกแล้ว ไม่ว่าการโอนนั้นจะโอนไปโดยนิติกรรม เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือให้โดยเสน่หา หรืออาจจะโอนไปโดยผลของกฎหมาย เช่น รับมรดกก็ตาม ทำให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ ไม่ว่าทำนั้นจะถูกเปลี่ยนมือไปกี่ทอดก็ตามตราบใดที่สำคัญยังติดจำนองอยู่ เช่น แดงจำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ขาว ต่อมาแดงเอาที่ดินขายให้แกดำ โดยเป็นการขายไปยังติดจำนอง ขาวย่อมสามารถบังคับจำนองกับที่ดินแปลงดังกล่าว แม้กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของดำแล้วก็ตาม ซึ่งในกรณีเช่นนี้ มักจะมีการขายแบบปลอดจำนองเสียมากกว่า เพราะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จะมันใจได้ว่า ทรัพย์นั้นจะได้ไม่หลุดมือไปจากตน
    5. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง ความนี้บัญญัติไว้ใน มาตรา 705 เนื่องจากว่า หากไม่มีการชำระหนี้จนต้องมีการบังคับจำนองขึ้นมา กรรมสิทธิ์ก็ย่อมตกไปยังผู้ที่ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดหรืออาจตกแก่เจ้าหนี้จำนองในกรณีที่เป็นการบังคับเอากับทรัพย์จำนองหลุด เช่นนี้แล้วหากไม่ใช่เจ้าของ ก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ เว้นแต่ในบางกรณีเช่นเจ้าของกระทำการประมาทเลินเล่อจนบุคคลอื่นเข้าใจว่าบุคคลที่นำทรัพย์มาจำนองนั้นเป็นเจ้าของเองหรือเป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะจำนองได้ เช่น ยาย มอบให้หลานนำที่ดินไปทำธุรกรรม โดยลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ แต่ไม่ได้กรอกข้อความที่มอบให้ดำเนินการไว้ หลานจึงนำหนังสือมอบอำนาจไปกรอกว่ามอบให้นำไปจำนอง เช่นนี้ ถือว่ายายไปทำโดยไม่สุจริต เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การจำนองโดยหลานซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ ผู้ที่รับจำนองไว้ย่อมมีอำนาจบังคับจำนอง
    ทรัพย์ที่นำมาจำนองได้
    มาตรา 703 บัญญัติไว้ว่าทรัพย์ที่จำนองได้ คือ อสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าประเภทใด ๆ จะรวมถึงสังหาริมทรัพย์พิเศษ ได้แก่ เรือมีระวาง 5 ตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทรัพย์ที่จำนองได้มี 2 ประเภทคือ อสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สำหรับสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนี้ เมื่อในฐานะหนึ่งก็เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย เจ้าของจึงเลือกเอาได้ว่าจะจำนำหรือจำนองก็ได้ มิได้ถูกบังคับว่าจะต้องทำเป็นจำนองเท่านั้น
    แบบของสัญญาจำนอง
    มาตรา 74 บัญญัติว่าสัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจากจำนองนั้นเป็นการเอาทรัพย์ที่มีทะเบียนเข้าจำนองไว้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ การที่จะทำให้เกิดความชัดเจนแน่นอนก็จะต้องมีการจดทะเบียนไว้ด้วย และโดยเฉพาะสัญญาจำนองนั้นไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนองการที่จะแสดงให้เห็นว่าทราบดังกล่าวนั้นติดพันในจำนองก็ยอมแสดงได้ทะเบียนเท่านั้น เพื่อเป็นการปกป้องบุคคลภายนอกไม่ให้เกิดควาเสียหาย กฎหมายจึงกำหนดแบบในสัญญาจำนองไว้ว่าจะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับข้อความในสัญญาจำนองนั้น โดยปกติ จะเป็นแบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้แล้วในการจดทะเบียน ข้อความสำคัญ ได้แก่
    1 ทรัพย์ที่จำนองนั้น จะต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจน เช่นเป็นโฉนดเลขที่เท่าไหร่ มีขนาดที่ดิน
    เท่าไหร่ หน้าสำรวจเลขที่เท่าไหร่ หากเป็นสัตว์พาหนะ ก็ต้องระบุรูปพรรณ ชื่อเจ้าของสัตว์นั้น เป็นต้น
    2 หนี้หรือสัญญาที่จำนองเป็นประกัน มาตรา 707 ให้เขามาตรา 681 ของสัญญาค้ำประกันมาใช้ด้วยคือต้องระบุว่าจำนองนี้เป็นการประกันหนี้ใด
    3 จำนวนเงินที่จำนองเป็นประกัน มาตรา 708 ระบุไว้ว่าจะต้องกำหนดไว้ ว่าเป็นเงินเท่าไหร่ จะระบุจำนวนเงินไว้ตรงตัวหรืออาจจะระบุเป็นวงเงินขั้นสูงที่จะได้จำนองนั้นไว้เป็นประกันก็ได้ เช่น ระบุไว้ว่า เป็นการประกันการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับจำนวนเงินที่ระบุนั้น จะระบุเป็นเงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่เงินไทยไม่ได้
    สำหรับข้อตกลงในสัญญาจำนองที่กฎหมายห้ามไม่ให้ตกลงกันก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ
    มาตรา 711 บัญญัติว่าการตกลงไว้เสียก่อนเวลานี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่าถ้าไม่
    ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนองหรือว่าให้จัดการแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายนี้ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์ ข้อนี้เป็นเรื่องของการที่กฎหมายคุ้มครองผู้จำนองมิให้ถูกเอาเปรียบ เนื่องจากเจ้าหนี้ผู้รับจำนองนั้นจะใช้อำนาจในทางเศรษฐกิจเอารัดเอาเปรียบผู้จำนอง แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายห้ามเฉพาะที่กำหนดก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ หากหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วผู้จำนองไม่มีความสามารถในการชำระหนี้จึงเอาที่ดินตีชำระหนี้ เช่นนี้เป็นการเกิดขึ้นหลังจากที่ถึงกำหนดชำระแล้วกฎหมายไม่ได้ห้าม การจำนองนั้นสามารถจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อเป็นการประกันหนี้รายเดียว หรือจำนอง
    ทรัพย์สินสิ่งเดียวเป็นการประกันการชำระหนี้หลาย ๆ ก็ได้
    มาตรา 710 นั้นเป็นเรื่องของการเอาทรัพย์หลายสิ่งเพื่อเป็นการประกันหนี้รายเดียว เช่น มีหนี้อยู่รายเดียว 1 ล้านบาท เอาที่ดิน 1 แปลง เอาแพ 1 หลัง เอาเรือระวาง 5 ตัน เข้าจำนองเป็นการประกันหนี้รายนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ มาตรา 710 ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิ์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองตามลำดับที่ระบุไว้เช่น ให้บังคับจำนองกับบ้านก่อนหลังจากนั้นจึงบังคับเอากับแพ แล้วจะบังคับเอากับเรือตามลำดับหรืออาจจะถือเอาทรัพย์สินเป็นการประกันการชำระหนี้ตามส่วนตามที่ระบุไว้ก็ได้ เช่น ให้บ้านเป็นประกันการชำระหนี้ 5 แสนบาท แพเป็นประกันการชำระหนี้ 30,000 บาทส่วนเรือเป็นประกันการชำระหนี้ 200,000 บาท เป็นต้น กรณีนี้ หากจะบังคับจำนองทรัพย์แต่ละชิ้นตามหนี้ที่เป็นวงเงินในการประกัน ดังนั้น หากบังคับจากบ้านได้เพียง 400,000 จากวงเงิน 500,000 บังคับได้จากแพได้ 200,000 จากเงินที่กำหนดให้
    300,000 บาท ส่วนเรือนั้นขายได้ 400,000 แต่ก็คงบังคับได้แค่ 200,000 เพราะกำหนดไว้ว่าเป็นการประกันการชำระหนี้เพียง 200,000 ในกรณีเช่นนี้เช้านี้คงจะได้รับชำระหนี้เพียง 800,000 บาทเท่านั้น ทั้งที่ทรัพย์ทั้งหมดขายได้รวมกันถึง 1 ล้านบาท สำหรับกรณีจำนองทรัพย์สิ่งเดียวเพื่อประกันการชำระหนี้หลายรายมาตรา 712 ให้ถือว่า ผู้รับจำนองรายได้รับจำนองไว้ก่อน ก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะบังคับชำระหนี้ก่อน เมื่อบังคับชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองรายแรกแล้วคือเท่าไหร่ จึงชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองรายหลังต่อไปตามลำดับเวลาในการ รับจำนองในกรณีรับจำนองไว้ในวันเดียวกันก็ต้องถือเอาคนที่รับจำนองไว้ก่อน เช่น รายแรกรับจำนองไว้ในเวลาเช้า รายหลังรับจำนองในเวลาบ่าย รายที่รับจำนองไว้ในช่วงเช้าก็เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อนรายที่รับจำนองช่วงบ่าย สำหรับสิทธิจำนองนั้นมาตรา 715 บัญญัติให้ครอบคลุมไปจนถึงอุปกรณ์ได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง กล่าวคือ นอกจากเงินต้นแล้วยังรวมถึงดอกเบี้ยของเงินต้น ส่วนค่าสินไหมทดแทนในการชำระหนี้ เช่น เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ทำให้เจ้าหนี้เสียหายอย่างไร ลูกหนี้ก็ต้องรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ด้วย ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง เช่น ค่าขายทอดตลาด ค่าประกาศโฆษณา ซึ่งจะต้องนำมาหักจากเงินที่ขายทอดตลาดได้ หลังจากนั้นจึงนำไปหักดอกเบี้ยหักเงินต้น เหลือเท่าไหร่ถึงจะคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์ต่อไป
    สำหรับสิทธิจำนองนั้นครอบถึงทรัพย์ที่จำนองหมดทุกสิ่ง มาตรา 716 บัญญัติว่า ถ้ามีการชำระหนี้บางส่วนแล้วจำนองก็ยังครอบคลุมไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง เช่น แดงกู้เงินจากขาว 1 ล้านบาท มีดำ เขียว เหลือง เอาที่ดินของตนจดทะเบียนจำนองของคนละ 1 แปลง ต่อมาแดงชำระหนี้ขาวแล้ว 500,000 บาท แต่ก็ต้องถือว่า ที่ดินของดำ เขียว เหลือ ยังติดจำนองทุกแปลงเช่นเดิมส่วนมาตรา 717 นั้นบัญญัติว่า จำนองครอบคลุมทุกส่วนของทรัพย์เช่น แดงกู้เงินขาว 1 ล้านบาท เอาที่ดิน 1 แปลงเป็นจำนวน 100 ไร่จำนองไว้เป็นการประกันการชำระหนี้ ต่อมาแดงแบ่งแยกโฉนด
    ออกเป็น 5 แปลงแปลงละ 20 ไร่ กรณีเช่นนี้ก็ยังถือว่าจำนองครอบคลุมถึงที่ดินทั้ง 5 แปลงดังกล่าว แม้จะมีการแบ่งโฉนดแล้ว สิทธิจำนองนั้นครอบคลุมไปถึงทรัพย์ที่ติดอยู่กับทรัพย์ที่จำนองด้วยตามมาตรา 718 โดยปกติแล้ว สิ่งซึ่งติดอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นส่วนควบ เมื่อจำนองครอบคลุมถึงทรัพย์ประธานก็ย่อมครอบไปถึงส่วนควบด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรา 719 บัญญัติว่า จำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงโรงเรือนอันผู้จำนองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะได้มีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะให้สัญญาว่าให้ครอบไปถึงแต่กระนั้นก็ดีในการบังคับจำนองผู้รับจำนองอาจจะให้มีการบังคับจำนองโรงเรือนไปพร้อมกับที่ดินด้วย หากเห็นว่าได้ราคาดี แต่ว่าผู้รับจำนองมีสิทธิ์ที่จะได้รับชำระหนี้เพียงเท่ากับราคาที่ดิน ดังนั้น หากโรงเรียนได้ราคาเท่าไหร่ก็ต้องส่งคืนให้แก่เจ้าของ นอกจากนี้จำนองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ทำในที่ดินของผู้อื่น ย่อมไม่ครอบไปถึงที่ดินซึ่งเป็นกรณีปกติอยู่แล้วว่าจำนวนเฉพาะโรงเรือน ไม่มีทางที่จะเป็นการจำนองที่ดินไปด้วยจำนองไม่ครอบคลุมไปถึงดอกผลของทรัพย์จำนอง ตามมาตรา 721 เว้นเสียแต่จะได้มีการบอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนว่าจะบังคับจำนองแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับจำนองเจ้าของทรัพย์ที่จำนองก็มีกรรมสิทธิ์มีสิทธิต่าง ๆในที่ดินอยู่ เช่น เจ้าของที่ดินปลูกต้นทุเรียนไว้ แม้ต้นทุเรียนมันจะเป็นส่วนควบกับที่ดินที่จำนองก็ตาม แต่เจ้าของก็ยังสามารถเอาทุเรียนนั้นไปขายหากำไรเป็นสิทธิของส่วนตัวได้ แต่หากได้มีการบอกบังคับจำนองแล้ว นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปผลทุเรียนก็จะอยู่ในการบังคับจำนองเพื่อนำมาชำระหนี้จำนองด้วย
    การบังคับจำนองนั้นมีวิธีการบังคับจำนองอยู่ 3 วิธี
    วิธีแรก คือ การบังคับจำนองด้วยการขายทอดตลาดตามมาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองแล้วผู้รับจำนองจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าว หากต่อมาครบกำหนดแล้วแล้วลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนองมีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อสั่งให้เอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดบังคับชำระที่ชดใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองต่อไป อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้จำนองไม่ได้เป็นลูกหนี้ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวให้แก่ผู้จำนองทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือให้แก่ลูกหนี้ทราบเพื่อผู้รับจำนอง จะได้รู้ว่าจะมีการบังคับจำนองและในกรณีเช่นนี้ผู้จำนองอาจจะเข้าชดใช้หนี้เพื่อที่จะรักษาทรัพย์ของตนไว้ ถ้าผู้รับจำนองไม่ดำเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าผู้จำนองหลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด 15 วันดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การไม่ดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นจากความผิด ที่จะต้องถูกบังคับจำนอง
    วิธีที่ 2 คือ บังคับจำนองด้วยการเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิ์ ตามมาตรา 729 กล่าวคือ ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือมีบุริมสิทธิรายอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันกับที่จำนองรับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองนั้นหลุดเป็นสิทธิ์ภายในบังคับแห่งเงื่อนไข ต่อไปนี้แทนการขายทอดตลาดก็ได้ กล่าวคือ แทนที่จะขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ ก็ให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของผู้รับจำนองเลย เงื่อนไขข้อที่ 1 ก็คือลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปีกับ เงื่อนไขข้อที่ 2 คือ ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทรัพย์สินนั้นราคาน้อยกว่าเงินค้างชำระ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เจ้าหนี้อาศัยการบังคับจำนองแบบนี้ เป็นการเอาเปรียบลูกหนี้
    วิธีที่ 3 เป็นการให้สิทธิ์แก่ผู้จำนองเองที่จะขอให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตาม มาตรา 729/1 คือ ในเวลาใด ๆ หลังจากนี้ถึงกำหนด ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นซื้อบุริมสิทธิอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์อันเดียวกันผู้จำนองเองมีสิทธิ์ที่จะแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจำนองเพื่อให้ผู้รับจำนองดำเนินการเอาทรัพย์ที่จำนองขายทอดตลาดโดยไม่ต้องมีการฟ้องศาล โดยผู้รับจำนองต้องดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่จะรับแจ้งเป็นหนังสือ ในกรณีนี้เป็นกรณีที่ตัวของผู้จำนองเป็นคนริเริ่มขอให้มีดำเนินการขายทอดตลาดเสียเอง อาจเป็นเพราะว่าตัวของผู้จำนองนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองได้แล้วให้เวลาเดินช้าต่อไปก็มีแต่ต้องเสียดอกเบี้ยค่าภาระติดพันต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า จึงให้โอกาสผู้จำนองเป็นคนริเริ่มให้ผู้รับจำนองดำเนินการ ผลของการบังคับจำนองมาตรา 732 บัญญัติว่าทรัพย์ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เป็นเงินสุทธิเท่าใด ที่ว่าเป็นเงินสุทธิเท่าใดนั้นหมายความว่าคงจะต้องหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองเสียก่อนจากนั้นให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับตามที่เคยกล่าวไว้ว่าถ้าเอาทรัพย์สินรายเดียว เป็นการประกันการชำระหนี้หลายรายก็ต้องชำระหนี้ให้แก่การจำนองรายแรกก่อนแล้วจึงชดใช้ชำระหนี้แก่จำนองรายต่อไปตามลำดับเวลาที่จดทะเบียนจำนอง สุดท้ายแล้วถ้ามีเงินเหลือเท่าไหร่ก็ส่งมอบแก่ผู้จำนองต่อไป แต่อย่างไรก็ตามมาตรา 733 บัญญัติต่อไปว่า ถ้ามีการเอาทรัพย์จำนองหลุดแล้วราคาทรัพย์สินนั้นมีประเมินต่ำกว่าจำนวนที่ค้างชำระอยู่กรณีเช่นนี้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดชดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระ อยู่นั่นก็ดีเงินยังขาดอยู่เท่าไหร่ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้ในเงินนั้นอีกหมายความว่าถ้ามีการบังคับจำนองแล้ว มีหนี้ส่วนที่ยังขาดก็ถือว่าต้องตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ไม่สามารถที่จะฟ้องเรียกร้องในหนี้ส่วนที่ขาดได้ เช่น กู้เงิน 1 ล้านบาทถ้าบังคับจำนองกับที่ดินได้ 80,000 อีก 200,000 แสนบาทที่ขาดไป ถือว่าตกเป็นพับเจ้าหนี้โดยมาตรา 733 นี้เอง แต่อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาเห็นว่ามาตรา 733 นั้นไม่ใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงสามารถที่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ดังนั้นถ้าเกิดมีการตกลงว่าหากมีการบังคับจำนองแล้วได้เงินมาไม่พอที่จะชำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในส่วนที่ขาดได้ สำหรับหนี้ในส่วนที่ที่ขาดนี้ ถือว่าเป็นหนี้สามัญทั่วไป ผู้รับจำนองไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดนั้น หนี้ส่วนหนี้เหมือนเจ้าหนี้สามัญทั่วไปเหตุเพราะว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นได้ถูกบังคับขึ้นไปแล้ว
     



    Please login for write message