0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 451 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 8,289,412 ครั้ง
Online : 124 คน
Photo

    หลักกฎหมายจำนำ


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-01-30 08:36:17 (IP : , ,171.6.231.205 ,, Admin)
    Compelling Reasons To Hire The Mortgage Consultant In Singapore - Bux ...
    หลักกฎหมายจำนำ
    มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
    1. องค์ประกอบของสัญญาจำนำ
    1.1 ต้องมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
    1.2 ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำ
    มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้
    1.3 ทรัพย์ที่จำนำเป็นสังหาริมทรัพย์
    1.4 ผู้รับจำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนำ
    2. ผลของสัญญาจำนำ
    เจ้าหนี้จำนำมีบุริมทรัพย์ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
    3. บรรดาที่จำนำเป็นประกันการชำระหนี้
    การจำนำนั้นย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ (มาตรา 748)
    (1) ดอกเบี้ยของหนี้ประธาน
    (2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
    (3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
    (4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
    (5) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็น
    ประจักษ์
    4. ข้อตกลงในสัญญาจำนำที่ไม่สมบูรณ์
    มาตรา 756 การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนำเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนำ หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์ เช่น ตกลงกันว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระให้ทรัพย์จำนำตกเป็นของผู้รับจำนำ
    หรือตกลงมิให้เอาขายทอดตลาด แต่ให้เอาขายกันเองระหว่างกลุ่มบุคคลที่กำหนด เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นข้อตกลงก่อนหนี้ถึงกำหนด หากตกลงหลังหนี้ถึงกำหนดแล้ว ทำได้
    5. การจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร
    ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร และมิได้ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งการจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ (มาตรา 750)
    ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้สลักหลังไว้ที่ตราสารให้ปรากฏการจำนำเช่นนั้น เช่น ตัวแลกเงิน เช็คอนึ่ง ในการนี้ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งตราสาร (มาตรา 751)ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลโดยนามและจะโอนกันด้วยสลักหลังไม่ได้ท่านว่าต้องจดข้อความแสดงการจำนำไว้ให้ปรากฏในตราสารนั้นเอง และท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้แห่งตราสารหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้บอกกล่าวการจำนำนั้นให้ทราบถึงลูกหนี้แห่งตราสาร (มาตรา 7๕2) เช่น เป็นตัวแลกเงิน หรือตราสารที่มีระบุห้ามเปลี่ยนมือ ถ้าจำนำใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัทหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้จดลงทะเบียนการจำนำนั้นไว้ในสมุดของบริษัทตามบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 22 ว่าด้วยการโอนหุ้นหรือหุ้นกู้ (มาตรา 753)
    6. สิทธิหน้าที่ของผู้รับจำนำ
    6.1 สิทธิในการยึดทรัพย์จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้
    มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
    - แม้จะชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม
    - แม้จะจำนำทรัพย์หลายชิ้นก็ตาม
    - แต่ยกต่อสู้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ แต่หากมีการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาแล้ว ผู้รับ จำนำย่อมได้รับชำระหนี้ก่อน
    6.2 สิทธิที่จะนำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่จำนำมาจัดสรรชำระหนี้
    มาตรา 760 ถ้าผู้รับจำนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกใช้เอง หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเก็บรักษาโดยผู้จำนำมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนำจะต้องรับผิดเพื่อที่ทรัพย์สินจำนำนั้นสูญหาย หรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ทั้งเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ก็คงจะต้องสูญหาย หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง
    มาตรา 761 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผลนิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้น
    อย่างไร ท่านให้ผู้รับจำนำจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัดสรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จำนำทรัพย์สินเป็นประกันนั้น
    6.3 หน้าที่ดูแลทรัพย์ที่รับจำนำ
    มาตรา 759 ผู้รับจำนำจำต้องรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ให้ปลอดภัย และต้องสงวนทรัพย์สินจำนำนั้นเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง
    6.4 หน้าที่ไม่นำทรัพย์ที่จำนำออกใช้
    มาตรา 760 ถ้าผู้รับจำนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกใช้เอง หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเก็บรักษาโดยผู้จำนำมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนำจะต้องรับผิดเพื่อที่ทรัพย์สินจำนำนั้นสูญหาย หรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ทั้งเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ก็คงจะต้องสูญหาย หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง
    6.5 หน้าที่ในการคืนทรัพย์ที่รับจำนำ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้
    7. สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำ
    7.1 สิทธิในการไถ่ถอนจำนำ
    7.2 หน้าที่ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์ที่จำนำ
                มาตรา 762 ค่าใช้จ่ายใด ๆ อันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำนั้น ผู้จำนำจำต้องชดใช้ให้แก่
    ผู้รับจำนำ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา
    8. วิธีการบังคับจำนำ
    มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระ
    หนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย
    8.1 ต้องบอกกล่าวก่อน
    8.2 ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือ
    8.3 ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ขึ้นอยู่กับหนี้ประธาน
    กรณีที่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
    มาตรา 765 ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสียในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วงเวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้
    มาตรา 766 ถ้าจำนำตั๋วเงิน ท่านให้ผู้รับจำนำเก็บเรียกเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
    9. ผลของการบังคับจำนำ
    เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระ ท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
    (มาตรา 767) ถ้าจำนำทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านว่าผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกขายก็ได้ แต่จะขายจนเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้เงินตามสิทธิแห่งตนนั้นหาได้ไม่ (มาตรา 768)
    10 ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ
    มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
    (1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ
    (2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนวน
     



    Please login for write message