0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-26
จำนวนครั้งที่ชม : 7,651,120 ครั้ง
Online : 166 คน
Photo

    การซื้อขายพระเครื่อง


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-04-04 16:52:29 (IP : , ,171.6.227.30 ,, Admin)
    ท่าพระจันทร์ดอทคอม | ThaprachanDotCom : เพชร พัทลุง และ ต้า พัทลุงการซื้อขายพระเครื่อง
                  โดยอาจจะเลี่ยงไปใช้คำว่า "เช่า" ก็ได้ เพื่อมิให้ถูกมองว่านำพระมาซื้อขายกัน แต่ในทางกฎหมายก็ถือว่าเป็นเรื่องของการ "ซื้อขาย" มิใช่การเช่า โดยภายหลังซื้อไปแล้ว พบว่า เป็นพระเก๊ จึงมีปัญหาว่า ผู้ที่ขายพระจะมีความผิดหรือไม่สำหรับแนวของศาลในการตัดสินว่าเป็นฉ้อโกงหรือไม่ ศาลจะดูจากพฤติการณ์เป็นเรื่องๆไป กรณีที่ศาลมักจะมองว่าเป็นการฉ้อโกง คือ "มีการรับประกัน" จากผู้ขายว่าเป็นพระแท้ ซึ่งการรับประกันนั้น เกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือ (1) ออกใบรับประกันพระแท้ หรือ (2) รับประกันพระแท้โดยไม่ออกใบรับประกัน เช่น ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย หรือ (3) รับประกันด้วยวาจาในขณะซื้อขายกัน ถ้ามีการรับประกัน แล้วภายหลังพบว่าเป็นพระเก๊ หากผู้ซื้อขอคืนพระและขอเงินคืน หากผู้ขายไม่ยอมคืนเงินให้ ก็จะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานโกง โดยศาลจะมองว่า "พฤติการณ์ในการรับประกันพระแท้นั้น เป็นเพียงการหลอกลวงเพื่อที่จะขายพระเท่านั้น" เพราะหากมีเจตนาที่จะรับประกันพระแท้จริงๆ เมื่อมีการโต้แย้งว่าเป็นพระเก๊ ผู้ขายก็ควรจะต้องมีพฤติการณ์ในการพิสูจน์ว่าพระของตนเองเป็นพระจริงไม่ใช่พระเก๊ การที่ผู้ขายบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับคืนพระและไม่ยอมพิสูจน์พระของตนเอง ศาลจะมองว่าการขายพระโดยรับประกันพระแท้นั้น เป็นการใช้คำว่า "รับประกัน" เป็นอุบายในการหลอกลวง จึงเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
    ดังนั้น ถ้าขายพระแล้วมีการรับประกันว่าเป็นพระแท้ ถ้าภายหลังผู้ซื้อโต้แย้งว่าเป็นพระเก๊ สิ่งที่ผู้ขายจะต้องทำ คือ จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบพระเครื่องดังกล่าวร่วมกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ โดยหาคนกลางไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมาตัดสินว่าเป็นพระแท้หรือพระเก๊ ส่วนผลจะออกมาอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผู้ขายห้ามบ่ายเบี่ยงหรือไม่ยอมรับการพิสูจน์พระเครื่อง เพราะถ้าปฏิเสธย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
    ส่วนพระจะเป็นพระแท้ หรือ พระเก๊ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะต้องหาคนกลางมาตัดสิน ถ้าตัดสินได้เป็นเอกฉันท์อย่างใดอย่างหนึ่งก็จบไปตามนั้น ถ้าผลการตัดสินไม่เป็นเอกฉันท์ ผู้ซื้อก็อาจจะคืนพระเครื่องไม่ได้ เพราะถือว่าไม่อาจจะพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นพระเก๊
    การวินิจฉัยว่า ผู้ขายมีเจตนาหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่นั้น ศาลจะยังไม่เข้าไปตัดสินประเด็นว่าเป็นพระแท้หรือพระเก๊ แต่ศาลจะดูพฤติการณ์ภายหลังจากที่ผู้ซื้อแจ้งไปยังผู้ขายว่า พระที่ซื้อไปนั้นมีการตรวจสอบแล้วว่าเป็นพระเก๊ ศาลจะดูว่าพฤติการณ์ของผู้ขายภายหลังทราบเรื่องแล้วมีพฤติการณ์อย่างไร โดยจะแบ่งพฤติการณ์ ดังนี้
    (1) ไม่บ่ายเบี่ยง และขอให้ทำการตรวจพิสูจน์พระเครื่อง โดยการจัดหาคนกลางมาตัดสิน ถ้าผลการตัดสินออกมาว่าเป็นพระเก๊ ก็ยินดีจะคืนเงินให้ (ส่วนจะมีคืนให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) = พฤติการณ์อย่างนี้ ยังไม่เข้าข่ายฉ้อโกง
    (2) มีการบ่ายเบี่ยง และไม่มีการจัดให้ทำการตรวจพิสูจน์พระเครื่อง โดยไม่ร่วมกันพิสูจน์ความจริงกับผู้ซื้อ = พฤติการณ์อย่างนี้ เข่าข่ายเป็นการฉ้อโกง เพราะไม่ใสใจที่จะพิสูจน์พระของตนเอง ทั้งๆที่ตนเองได้รับประกันไปในขณะซื้อขายว่าเป็นเป็นพระแท้ แสดงว่าเป็นการรับประกันทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่พระแท้
    ดังนั้น การที่ผู้ขายจะมีความผิดฐานฉ้อโกงนั้น จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นพระแท้หรือพระเก๊เป็นหลักเท่านั้น แต่ศาลจะ ดูพฤติการณ์แวดล้อมต่างๆประกอบกัน และดูเหตุผลแวดล้อมทั้งหมดเพื่อที่จะพิจารณาว่า ผู้ขายพระเครื่องนั้น "ทราบหรือน่าจะทราบได้หรือไม่" ว่า พระดังกล่าวไม่ใช่พระแท้
    เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534 วินิจฉัยว่า
    "" ..... จำเลยเป็นพระสงฆ์ ในการขายพระเครื่องพิพาท จำเลยได้รับรองหรือรับประกันแก่ผู้ซื้อขาย ว่า พระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี แต่ความจริงปรากฏว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าว และ ไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยด้วย ดังนั้น การที่จำเลยไปรับรองว่าเป็นพระที่สมเด็จพระเทพฯจัดสร้าง และพระราชทานให้แก่จำเลยนั้น จึงเป็นการหลอกลวง เพื่อที่จะให้ผู้เสียหายมาซื้อพระเครื่องดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง .....""
    หรือ คดีที่ศาลล่างตัดสิน (คดีไม่ถึงศาลฎีกา) ว่าผู้ขายพระเครื่องมีความผิดฐานฉ้อโกง ก็จะมีพฤติการณ์ คือ 1. มีการรับประกันว่าเป็นพระแท้ และ 2. เมื่อผู้ซื้อโต้แย้งในภายหลังว่าไม่ใช่พระแท้ ก็จะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจัดให้มีการพิสูจน์พระเครื่องดังกล่าว ซึ่งศาลล่างเชื่อว่าเป็นการฉ้อโกง
    (อ้างอิง : ข่าว พิพากษาจำคุก 2 ปี เจ้าของนิตยาสารพระเครื่อง ชื่อ ""โพธิ์เพชร"" มีพฤติการณ์ที่ขายพระโดยรับประกัน แต่ภายหลังเมื่อผู้ซื้อโต้แย้งกลับไม่ยอมรับและไม่จัดให้มีการตรวจสอบพระ)
    (อ้างอิง : ข่าว กองปราบจับเซียนพระ ขายพระเก๊ โดยการปลอมประวัติของพระเครื่อง โดยกองปราบพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรตรวจสอบประวัติของพระเครื่องที่ผู้ต้องหาทำขึ้น พบว่าเป็นประวัติที่่ทำขึ้นปลอม)
    ฉะนั้น ผู้ที่ขายพระเครื่อง แล้วรับประกันว่าพระเครื่องของตนเองเป็นพระแท้ ไม่ว่าจะรับประกันด้วยเอกสารหรือลายลักษณ์อักษรก็ตาม ถ้าภายหลังผู้ซื้อโต้แย้งว่าเป็นพระเครื่องเก๊ ผู้ขายจะต้องจัดให้มีการพิสูจน์พระเครื่องของตนเอง โดยร่วมกันจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาพิสูจน์ ถ้าผู้ขายไม่ทำขั้นตอนนี้ ก็จะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
    สำหรับ ""การขายพระเครื่องที่ไม่มีการรับประกัน"" หรือที่เรียกกันว่า ""ขายตามสภาพ"" หรือ ""ตาดีได้ตาร้ายเสีย"" การขายพระเครื่องแบบนี้ แม้ภายหลังจะพบว่าเป็นพระเก๊ ผู้ขายก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง เพราะผู้ขายไม่ได้รับประกันว่าพระของตนเองเป็นพระแท้ โดยให้ผู้ซื้อตัดสินใจและตรวจดูด้วยตนเอง ดังนั้น ในขณะขายจึงเห็นว่าผู้ขายเองก็ไม่ทราบว่าพระของตนเองแท้หรือเก๊ ส่วนผู้ซื้อจะซื้อหรือไม่ก็แล้วแต่ ถ้าซื้อก็ต้องยอมรับผลเอาเองหากภายหลังตรวจพบว่าเป็นพระเก๊ ซึ่งการขายพระแบบขายตามสภาพนี้ พบได้ทั่วไปแถวๆ ท่าพระจันทร์ ที่นำพระเครื่องมาวางกองกับพื้น แล้วให้ผู้ซื้อตรวจดูได้ตามใจชอบ โดยผู้ขายจะไม่รับประกันพระเครื่องของตนเองว่าเป็นพระแท้
    ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบ คือ มีการโต้เถียงกันว่ามีการรับประกันพระแท้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้มักจะเป็นกรณีที่ ผู้ขายไม่ได้ออกใบรับประกันพระแท้ให้ และไม่ได้มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงทำให้ไม่มีข้อความว่าผู้ขายรับประกันว่าเป็นพระแท้ ซึ่งหากเป็นการซื้อขายพระเครื่องกันแบบซื้อขายตามสภาพก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเป็นพระเก๊ก็ถือว่าผู้ขายไม่ผิด
    แต่หากเป็น การซื้อจากร้านที่ขายพระเครื่องและซื้อกันในราคาที่สูงกว่าปกติทั่วไป เรียกว่า ""ราคาแพงกว่าการซื้อขายพระแบบซื้อขายตามสภาพ"" กรณีแบบนี้ น่าเชื่อว่า ผู้ขายจะต้องมีการรับประกันว่าพระของตนเองเป็นพระแท้ เพราะการซื้อขายพระกันตามสภาพนั้น ราคาของพระจะไม่แพง ฉะนั้น แม้ไม่มีใบรับประกันพระแท้ แต่หากไม่ใช่การซื้อขายพระแบบซื้อขายกันตามสภาพ ข้อเท็จจริงก็น่าเชื่อว่า ผู้ขายน่าจะมีการรับประกันว่าพระของตนเองเป็นพระแท้ ไม่อย่างนั้นผู้ซื้อก็คงไม่ซื้อในราคาสูงหากผู้ขายไม่รับประกัน ซึ่งพฤติการณ์อย่างนี้อาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้ หากว่า ผู้ซื้อมาโต้แย้งในภายหลังแล้วผู้ขายบ่ายเบี่ยงไม่ยอมพิสูจน์พระเครื่องของตนเอง
    ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า
    1. ถ้าขายพระเครื่อง ""โดยรับประกันพระแท้"" ถ้าภายหลังผู้ซื้อโต้แย้งว่าเป็นพระเก๊ ผู้ขายจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบพระเครื่องของตนเอง แล้วถ้าพบว่าเป็นพระเก๊จริง ก็ต้องคืนเงินให้ผู้ซื้อเขาไป แต่หากบ่ายเบี่ยงแบบตัดบทไปเลย ไม่จัดให้มีการพิสูจน์พระเครื่องของตนเอง แบบนี้เข้าข่ายฉ้อโกง
    2. ถ้าเป็นการ ""ขายพระเครื่องแบบขายตามสภาพ"" แบบนี้แม้จะพบในภายหลังว่าเป็นพระเก๊ ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด เพราะถือว่าไม่ได้รับประกันและเป็นการขายแบบตาดีได้ตาร้ายเสีย และผู้ซื้อต้องเสี่ยงภัยเองว่าพระเครื่องที่ซื้อมานั้นอาจจะเป็นพระเก๊ก็ได้ หรืออาจจะเป็นพระแท้ก็ได้
     3. ในกรณีที่มีการโต้เถียงกันว่า มีการรับประกันพระแท้หรือไม่ หากไม่ได้มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือหรือลายลักษณ์อักษร ก็จะดูจาก (1) สถานที่ที่ซื้อ (2) ราคา หากซื้อกันในร้านขายพระเครื่องหรือเว็บหรือเพจขายพระเครื่อง และราคาที่ซื้อขายก็เป็นราคาสูงตามลักษณะหรือชนิดของพระ กรณีแบบนี้ ก็จะมีเหตุให้น่าเชื่อได้ว่า ผู้ขายน่าจะมีการรับประกันพระแท้ เพราะไม่ใช่ลักษณะของการซื้อขายพระเครื่องกันตามสภาพ
    ดังนั้น จึงเห็นว่า การตัดสินว่าเป็นฉ้อโกงหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระแท้หรือพระเก๊เท่านั้น และศาลก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องพระเครื่องด้วย แต่ศาลจะอาศัยดูจากพฤติการณ์และความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นในการซื้อขายพระเครื่องกันเป็นตัวตัดสิน


    Please login for write message