0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 451 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 8,289,541 ครั้ง
Online : 154 คน
Photo

    เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-04-06 15:11:52 (IP : , ,171.6.230.164 ,, Admin)

    Premium Photo | Justice scales and wooden gavel. justice concept

    เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด

    ตามกฎหมายแล้วนั้น แม้ว่าคดีจะถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม แต่หากว่ามีมีกระบวนพิจารณาที่มีการทำผิดระเบียบเอาไว้ก่อนที่คดีจะถึงที่สุด ผู้ที่เสียหายจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว ก็ยังสามารถยื่นคำร้องเข้าไปในคดีเดิม เพื่อขอให้ศาลทำการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ เพียงแต่จะต้องทำตามเงื่อนไข ของการร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จำนวน 2 เงื่อนไขที่เคร่งครัด คือ
    เงื่อนไขที่ 1. จะต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ภายใน 8 วัน นับแต่ทราบเหตุแห่งความผิดระเบียบ
    เงื่อนไขที่ 2. ภายหลังจากทราบเหตุแห่งความผิดระเบียบแล้ว ห้ามมิให้ทำการสิ่งใดขึ้นใหม่ หรือ ต้องไม่มีพฤติการณ์ให้สัตยาบันรับรองกระบวนการผิดระเบียบนั้นต่อไปอีก เป็นไปตาม มาตรา 27 ของ ป.วิ.แพ่ง
    เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2548 วินิจฉัยว่า
    "แม้คดีจะถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม แต่หากมีข้อที่ผิดระเบียบ ผู้ที่ต้องเสียหายย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วัน นับแต่วันทราบถึงข้อผิดระเบียบและต้องไม่ทำการสิ่งใดขึ้นใหม่และต้องไม่ได้มีการให้สัตยาบันขึ้นรับรองข้อผิดระเบียบนั้น "
                  (แม้ตัวบท มาตรา 27 จะใช้คำว่า "ก่อนศาลมีคำพิพากษา" และคำว่า "ไม่ช้ากว่า 8 วัน" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อศาลพิพากษาไปแล้วจะยกมาตรา 27 ขึ้นอ้างไม่ได้ เพราะศาลฎีกาตีความไว้เป็นบรรทัดฐานนานแล้ว ว่า คำว่า "ก่อนศาลพิพากษา" ใช้เฉพาะกรณีที่คู่ความทราบข้อผิดระเบียบก่อนศาลพิพากษาเท่านั้น แต่หากคู่ความทราบข้อผิดระเบียบภายหลังศาลพิพากษา ก็สามารถยกมาตรา 27 มาใช้ประโยชน์ได้ เพียงแต่จะต้องกระทำภายในระยะเวลา 8 วัน (เทียบ ฎ.1293/2564, 2472/2558,800/2551,6252/2550,3391/2562)
    เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547 วินิจฉัยว่า
    ""คดีนี้ ปรากฏว่า ได้มีการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว จนคดีถึงที่สุดแล้ว กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจคู่ความกระทำการสิ่งใดหลังจากคดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาอีกแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะนำเอาเรื่อง การร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามาตรา 27 ของ ป.วิ.แพ่ง มาใช้ได้อีก อีกทั้งเมื่อพิจารณาคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก็มิใช่เรื่องผิดระเบียบแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่อ้างว่าศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ซึ่งประเด็นนี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยได้ ไม่ใช่เรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา""
    ( คดีนี้ ผู้ร้องอ้างว่าที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในเนื้อหาของฎีกานั้นเป็นเรื่องผิดระเบียบ ซึ่งมาตรา 27 ของ ป.วิ.แพ่ง ไม่ได้ให้นำมาใช้กับการวินิจฉัยเนื้อหาคดีของศาล เพราะการวินิจฉัยเนื้อหาคดีของศาลนั้นเป็นอำนาจโดยอิสระของศาลอยู่แล้ว แม้ศาลจะวินิจฉัยผิพลาดอย่างไรก็ตามก็จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านด้วยวิธีการอุทธรณ์ ฎีกาเท่านั้น จะอาศัยมาตรา 27 มาขอเพิกถอนไม่ได้
                  คดีซึ่งไม่ใช่การถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกา และสิ่งที่เป็นข้อผิดระเบียบที่ขอให้ศาลเพิกถอนนั้น ไม่ใช่ในส่วนของการที่ศาลวินิจฉัยเนื้อหาของคดี แต่เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในทางคำสั่งของศาลเกี่ยวกับการแจ้งคำสั่งศาลหรือการแจ้งให้คู่ความทราบถึงคำสั่งศาล ซึ่งพบว่ากระบวนนี้มีข้อผิดระเบียบเกิดขึ้น ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่ากระบวนนี้มีความผิดเกิดขึ้นจริง ศาลก็จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาให้

     
     




    Please login for write message