0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-20
จำนวนครั้งที่ชม : 8,384,485 ครั้ง
Online : 69 คน
Photo

    ทำพินัยกรรมโดยระบุเงื่อนไขห้ามโอน


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-05-04 08:48:59 (IP : , ,171.6.246.222 ,, Admin)
    ทำพินัยกรรมอย่างไร ให้มั่นใจไร้ปัญหา ? 5 เทคนิคการถ่ายวีดีโอประกอบการทำ ...
    ทำพินัยกรรมโดยระบุเงื่อนไขห้ามโอน
    ถ้าทำพินัยกรรม โดยระบุเงื่อนไขในพินัยกรรมทำนองว่า"" ห้ามโอน หรือจำหน่าย ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี และถ้าจะโอนหรือจำหน่ายจะต้องกระทำโดยการขาย และจะต้องขายในราคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 % ของราคาประเมิน""
    การกำหนดเงื่อนไขอย่างนี้ไว้ในพินัยกรรม จะสามารถกำหนดได้หรือไม่ คำตอบ คือ สามารถกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในพินัยกรรมได้ โดยเรียกเงื่อนไขดังกล่าวว่า ""ข้อกำหนดห้ามจำหน่ายทรัพย์สิน"" ซึ่งกฎหมาย ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติรับรองให้สามารถระบุเงื่อนไขดังกล่าวในพินัยกรรมได้ ดังนี้
    "" มาตรา 1700 ของ ป.พพ. บัญญัติในทำนองว่า
    ผู้ทำพินัยกรรม สามารถระบุเงื่อนไขการห้ามโอนทรัพย์ในพินัยกรรมได้ แต่ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องระบุไว้ด้วยว่า ถ้าผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฝ่าฝืน จะให้ใครเป็นผู้รับทรัพย์ในพินัยกรรมคนต่อไป ถ้าไม่ได้ระบุคนที่จะรับทรัพย์คนต่อไปไว้ ก็ให้ถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีผล
    ตัวอย่างเช่น ระบุในพินัยกรรม ว่า
    "" ..... ให้ที่รถยนต์คันหมายเลข 123 กรุงเทพมหานคร ตกได้แก่ นายแดง โดยห้ามมิให้นายแดง ขายรถยนยนต์คันดังกล่าวภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่ได้รับรถยนต์ หากนายแดงฝ่าฝืน ให้รถยนต์คันดังกล่าวตกได้แก่ นายเหลือง แทน .....""
    ถ้าระบุในพินัยกรรมตามตัวอย่างก็ถือว่าข้อกำหนดนั้นใช้ได้ และมีผลบังคับตามกฎหมาย และผู้รับพินัยกรรมจะต้องปฏิบัติตาม แต่หาก ไม่ได้ระบุผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมหากมีการฝ่าฝืนเงื่อนไขห้ามโอนไว้ ก็จะถือว่า ข้อกำหนดห้ามโอนนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย
    ดู คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2559 วินิจฉัยว่า
    "" ..... แม้ตามพินัยกรรม จะมีข้อกำหนดห้ามจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมโอนทรัพย์สินนั้น แต่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีบุคคลหนึ่งบุคคลใด นอกจากผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรม ที่จะให้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นต่อไปอย่างเด็ดขาด กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1700 วรรคสาม ที่ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย .....""
    ดู คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2511 วินิจฉัยว่า
    "" ..... เจ้ามรดก ได้ทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้จำเลย แต่มีข้อกำหนดห้ามมิให้จำเลยจำหน่ายจ่ายโอน โดยมิได้รับความเห็นชอบจากบุตรของเจ้ามรดกที่มีสิทธิอาศัย แต่ข้อกำหนดนี้หาได้ระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยละเมิดข้อกำหนดแล้ว จะให้ที่พิพาทตกเป็นของผู้ใดไม่ ข้อกำหนดห้ามโอน จึงถือว่าเป็นอันไม่มีเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 .....""
     
     




    shoes
    Please login for write message