0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 451 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 8,289,173 ครั้ง
Online : 189 คน
Photo

    แบบพินัยกรรม


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-05-31 09:52:31 (IP : , ,171.6.229.40 ,, Admin)
    Admin Edit : 2024-05-31 09:53:18

     

                 พินัยกรรม คือ เอกสารที่ใช้ระบุถึงความต้องการของเจ้ามรดก เมื่อเสียชีวิตไปแล้วต้องการมอบทรัพย์สินให้ใครบ้าง ทั้งนี้พินัยกรรมจะต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด จึงจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย โดยผู้ทำจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
    • มีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป
    • ไม่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    • มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะที่ทำพินัยกรรม
    พินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนด
    พินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648) จะมีทั้งหมด 5 แบบ ดังนี้
    1. พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
    2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
    3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
    4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
    5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
    วิธีเขียนพินัยกรรมแบบธรรมดา
    1. ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (จะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
    2. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
    3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงได*ไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น
    4. การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น จะส่งผลให้พินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะ ที่ขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว) ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ไม่มีลายนิ้วมือ) หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องย่อมใช้ไม่ได้
    *เครื่องหมายแกงได คือ รอยขีดเขียนซึ่งบุคคลทำไว้เป็นสำคัญแทนการลงลายมือชื่อ
    วิธีทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
    1. ต้องทำเป็นเอกสาร คือ ทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
    2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้เขียนหนังสือไม่ได้ จะไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้
    3. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำลงเพื่อพิสูจน์ความสามารถ และการทำก่อนหลังฉบับอื่น
    4. ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงได* หรือเครื่องหมายอย่างอื่นแทนไม่ได้
    5. การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ จะทำให้พินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้
    6. หากมีการขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่มิได้ทำด้วยตนเอง หรือลงลายมือชื่อกำกับไว้เท่านั้นที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนข้อความเดิมหรือพินัยกรรมยังคงใช้บังคับได้ตามเดิม ไม่ทำให้โมฆะทั้งฉบับ
    *เครื่องหมายแกงได คือ รอยขีดเขียนซึ่งบุคคลทำไว้เป็นสำคัญแทนการลงลายมือชื่อ
    ส่วนพินัยกรรมแบบอื่น ๆ เช่น พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658), พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660) และพินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663) จะต้องไปยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอหรือเขตใดก็ได้ดำเนินการให้ จึงจะถือว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย
    สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำพินัยกรรม
    • พินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่ต้องทำตามแบบที่กำหนดเท่านั้น
    • ต้องเขียน วัน เดือน ปี ลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยาน
     
    • ผู้ที่เป็นพยานจะต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือผู้หย่อนความสามารถ และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
    • ผู้ที่เป็นพยานในการทำพินัยกรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกในพินัยกรรมนั้น
    • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    • พินัยกรรมควรจะตั้งผู้จัดการมรดกโดยสามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกไว้ใจลงในพินัยกรรมไปได้เลย
    • สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้
    • ทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรมต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น โดยต้องแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสด้วย
    • เงินประกันชีวิต เงินบำเหน็จตกทอด เงินมีบำนาญตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตกทอด ไม่อาจเป็นมรดกที่ระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตาย
     





    shoes
    Please login for write message