0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,703,509 ครั้ง
Online : 198 คน
Photo

    การขอคืนสิ่งของที่ถูกยึดระหว่างสอบสวนและผู้มีสิทธิขอคืน


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-06-14 11:26:02 (IP : , ,171.6.229.187 ,, Admin)
    Home - Insurance Risk Managers
    การขอคืนสิ่งของที่ถูกยึดระหว่างสอบสวนและผู้มีสิทธิขอคืน
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๕/๑
     เพิ่มโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
    การยื่นคำร้องขอคืนสิ่งของในระหว่างสอบสวน
    -  สิ่งของที่เจ้าพนักงานได้ยึดไว้ ซึ่งมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำ หรือมีไว้ เป็นความผิด ถ้ายังไม่ได้นำสืบ หรือแสดงเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคด
    -  เจ้าของ หรือผู้ซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ขอคืนสิ่งของ ที่เจ้าพนักงานยึดไว้ อาจยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
      -  เพื่อขอรับสิ่งของนั้นไปดูแลรักษา หรือใช้ประโยชน์ โดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้
             เงื่อนไขและการสั่งคืนสิ่งของ
                      -  การสั่งคืนสิ่งของดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่กระทบถึงการใช้สิ่งของนั้นเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในภายหลัง
                      -  ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ  มีคำสั่งโดยมิชักช้า โดยอาจเรียกประกันจากผู้ยื่นคำร้อง  หรือกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลนั้นปฏิบัติ และ
                      -  หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือ บุคคลดังกล่าวไม่ยอมคืนสิ่งของนั้น เมื่อมีคำสั่งให้คืน ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มีอำนาจยึดสิ่งของนั้นกลับคืน และบังคับตามสัญญาประกัน เช่นว่านั้นได้
                       -  วิธีการยื่นคำร้อง เงื่อนไขและการอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต หรือคำสั่งอนุญาต
                       -   ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ มีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลชั้นต้น ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่อนุญาต และให้ศาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
                       -  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ศาลอาจเรียกประกัน หรือกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
    (สรุป. – การขอคืนของกลางบางอย่างในระหว่างสอบสวนต้องมิใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิด สามารถสั่งคืนได้โดยมีประกันและเงื่อนไข หากไม่อนุญาต ก็ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้)
     
                         สาระสำคัญ กฎกระทรวงกำหนดวิธีการ ขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ ไปดูแลรักษา หรือใช้ประโยชน์ พ.ศ.๒๕๕๓
                      -  บุคคลดังต่อไปนี้ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ได้
                          (๑)  เจ้าของ หรือผู้มีกรรมสิทธิ์
                          (๒) ผู้ซึ่งมีสิทธิในการใช้ , ครอบครอง , ยึดหน่วง  หรือสิทธิเรียกร้องอื่นตามที่กฎหมายรับรอง  รวมถึง ผู้เช่าซื้อ , ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือ ผู้จัดการมรดก
                      -  ผู้ยื่นคำร้องจะต้องแสดงหลักฐานแห่งการเป็นเจ้าของ  หรือเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพื่อแสดงถึงสิทธิที่ตนมีอยู่เหนือสิ่งของนั้น
                      -  ในกรณีผู้ยื่นคำร้อง มีสิทธิในสิ่งของ ซึ่งมีเจ้าของกรรมสิทธิ์หลายรายรวมกัน จะต้องแสดงเอกสารหลักฐานแสดงความยินยอมในการร้องขอคืนสิ่งของ จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกราย
    คำร้อง
                      ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
                      (๑)  สิ่งของ ที่ประสงค์จะขอคืน
                      (๒)  เหตุผล ความจำเป็น และความเร่งด่วน ที่ร้องขอคืนสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้
    ประโยชน์
                      (๓)  ระยะเวลา ที่ประสงค์จะนำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                      (๔)  ผู้ที่จะดูแลรักษา หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งของ
                      (๕)  สถานที่ ที่นำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                      (๖)  หลักฐาน ในการแสดงสิทธิตามข้อ ๑
                ในการพิจารณาคำร้อง ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี คำนึงถึงเหตุ
    ดังต่อไปนี้
                     (๑)  เหตุผล ความจำเป็น และความเร่งด่วนที่ต้องนำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                     (๒)  ความเสี่ยงภัย หรือเสี่ยงต่อความเสียหาย สูญหาย ถูกทำลาย ปลอม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่อาจเกิดกับสิ่งของที่จะนำไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                     (๓)  ความน่าเชื่อถือ ของหลักประกัน
                     (๔)  ความน่าเชื่อถือ ของผู้ที่จะนำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                     (๕)  ระยะเวลา ที่จะนำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                     (๖)  คำคัดค้าน ของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตามข้อ ๑ วรรคหนึ่ง คำคัดค้านของผู้ต้องหา หรือคำคัดค้านของผู้เสียหาย
                     (๗)  พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดี
    ผู้ยื่นคำร้องหลายรายต่างอ้างสิทธิในสิ่งของเดียว
                   -  ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องหลายรายขอคืนสิ่งของอย่างเดียวกัน โดยอ้างสิทธิต่างกัน
                   -  ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี มีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อพิสูจน์สิทธิของตนก่อนมีคำสั่ง
                   -  เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ยื่นคำร้องรายใดเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิเหนือสิ่งของดีกว่าผู้อื่น ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มีคำสั่งคืนสิ่งของแก่ผู้นั้น
     
    สัญญาประกันสิ่งของและการส่งคืน
    กฎกระทรวงกำหนดวิธีการขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ไปดูแลรักษา
    หรือใช้ประโยชน์ พ.ศ.๒๕๕๓
     
    รายละเอียดในสัญญาประกัน
                สัญญาประกันคืนสิ่งของ  อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
                       -  ผู้ยื่นคำร้อง
                       -  ระยะเวลา และสถานที่ ที่อนุญาตให้นำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                       -  ข้อความยินยอมชดใช้เงินตามจำนวน หรือ
                       -  อัตราที่กำหนดในกรณีที่สิ่งของนั้นชำรุดบกพร่อง หรือมิอาจส่งคืนได้ และ
                       -  ประกัน หรือหลักประกัน สำหรับในกรณีที่เป็นสัญญาประกัน
     
    การเรียกประกัน
                การเรียกประกัน หรือหลักประกัน และการกำหนดเงื่อนไข จะต้องมีความเหมาะสมกับ
                       -  ความสำคัญของพยานหลักฐานในคดี และ
                       -  มูลค่าของสิ่งของ
                       -  โดยไม่สร้างภาระแก่ผู้ยื่นคำร้องจนเกินควรแก่กรณี
                การกำหนดมูลค่าของสิ่งของ เพื่อการเรียกประกันหรือหลักประกัน ให้คำนึงถึง
                       -  ราคาประเมินของทางราชการ หรือ
                       -  มูลค่า หรือราคาตามท้องตลาด ของสิ่งของลักษณะเดียวกันนั้น
                ในกรณีที่มูลค่าของหลักประกันลดลงหรือต่ำไป ให้แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาต
                       -  หาหลักประกันมาเพิ่มให้ครบมูลค่าเดิมในขณะทำสัญญาประกัน หรือ
                       -  ให้ดีกว่าเดิม หรือ
                       -  เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นได้
    หลักทรัพย์
                หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้ใช้เป็นหลักประกันได้
                       (๑)  เงินสด
                       (๒)  ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
                       (๓)  ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสิ่งปลูกสร้าง
                       (๔)  ห้องชุดมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
                       (๕)  พันธบัตรรัฐบาลไทย
                       (๖)  หุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
                       (๗)  หลักทรัพย์มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอน เช่น
                              -  สลากออมสิน
                              -  บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสิน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                              -  ใบรับเงินฝากประจำธนาคาร
                              -  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
                              -  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
                              -  เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายและรับรอง ซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้ ในวันที่ทำสัญญาประกัน
                              -  หนังสือรับรองของธนาคาร หรือบริษัทประกันภัยเพื่อชำระเบี้ยปรับแทน กรณีผิดสัญญาประกัน
                              -  หรือ หลักทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
                        หลักทรัพย์ที่ดินและห้องชุด ให้นำ
                        -  โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ
                        -  หนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดินมาแสดง
                        -  หากนำสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมาเป็นหลักประกันด้วย ต้องแสดงสำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง ที่น่าเชื่อถือประกอบด้วย
    บุคคลเป็นประกัน
                  ๑. กรณีมีบุคคลเป็นประกัน บุคคลผู้เป็นประกันต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
                       (๑)  เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น
                              -  ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ
                              -  สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น
                              -  พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ
                              -  ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
                              -  ผู้บริหารพรรคการเมือง หรือ
                              -  ทนายความ และ
                      (๒)  เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ยื่นคำร้อง เช่น
                              -  ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง
                              -  ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง
                              -  บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือ
                              -  บุคคลที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เห็นสมควรให้ประกันได้
                  ๒. กรณีมีบุคคลเป็นประกัน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                       (๑)  ให้บุคคลผู้เป็นประกัน เสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัด หรือนายจ้าง หรือหลักฐานอื่น
    ที่เชื่อถือได้ และหากบุคคลผู้เป็นประกันมีคู่สมรส ให้แสดงหลักฐานการยินยอมของคู่สมรสด้วย
                       (๒)  ให้ทำสัญญาประกันได้ในวงเงิน ไม่เกินสิบเท่าของอัตราเงินเดือน หรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
                       (๓)  การสั่งคืนสิ่งของ
                               -  ให้พิจารณาจากเงินเดือนหรือรายได้
                               -  แต่หากวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินที่ผู้นั้นมีสิทธิประกันได้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี อาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติมให้เพียงพอกับวงเงินประกันนั้นได้ หรืออาจให้มีบุคคลผู้เป็นประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญาประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคนรวมกันได้
                 เมื่อผิดเงื่อนไข
                  ✩  ในกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ
                          -  หากผู้ได้รับอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
                  ✩  พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
                          -  อาจสั่งให้ส่งคืนสิ่งของนั้นทันที หรือ
                          -  จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มเติมก็ได้
                  ✩  ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาต ส่งคืนสิ่งของ เมื่อปรากฏว่า
                         (๑)  มีเหตุจำเป็น ต้องใช้สิ่งของนั้นในการสอบสวน หรือแสดงเป็นพยานหลักฐานในการ
    พิจารณาคดี
                         (๒)  ผู้ได้รับอนุญาต ผิดสัญญารับมอบสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ หรือผิดสัญญา
    ประกัน
                        (๓)  คดีถึงที่สุด หรือคดีเสร็จเด็ดขาด และศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ริบ หรือให้คืนแก่
    บุคคลอื่น
                        (๔)  มีการนำสิ่งของ ไปใช้ในการกระทำความผิดอีก
                        (๕)  ต้องคืนสิ่งของ ให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิเหนือสิ่งของดีกว่า
                        (๖)  ครบกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
                        (๗)  มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของเสียหาย สูญหาย ถูกทำลาย ปลอม
    หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
                  ✩  ผู้ได้รับอนุญาตจะส่งคืนสิ่งของก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตก็ได้
                  ✩  ก่อนครบกำหนดระยะเวลา ที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
                         ถ้าผู้ได้รับอนุญาตเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำสิ่งของนั้นไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตนั้น
                              -  มีหนังสือถึงพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
                              -  ก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
                              -  แจ้งถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องนำสิ่งของไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไป
    การคืนของกลางที่ร้านทองรับซื้อไว้
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                   "มาตรา ๑๓๓๒  บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่ เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา"
                  "มาตรา ๑๓๓๖  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย"
                  ข้อพิจารณา : ผู้ซื้อของในท้องตลาด  ฯ
                  -  ผู้ซื้อต้องซื้อจากการขายทอดตลาด ซื้อในท้องตลาด หรือซื้อจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น เท่านั้น  กล่าวคือ
                     “การขายทอดตลาด” หมายถึง การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป ด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้ หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น
                     “ท้องตลาด” หมายถึง  ตลาดทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ
                     “พ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น” คือ ผู้ขายได้ขายของอย่างที่ซื้อมานั้นเป็นอาจิณ
                  -  ผู้ซื้อต้องสุจริต เช่น ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิด ต้องมีพฤติการณ์เชื่อโดยสุจริตว่า ผู้ขายเป็นเจ้าของที่แท้จริง ราคาที่ซื้อขายเป็นราคาในท้องตลาด หรือมีหนังสือได้รับอนุญาตให้รับซื้อของเก่า เป็นต้น
                 -  ผู้ซื้อยังไม่ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยสมบูรณ์ แต่มีสิทธิยึดเอาไว้จนกว่าเจ้าของจะมาขอชดใช้ราคาคืน
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  907/2490
    ป.พ.พ. มาตรา 1332
    ป.วิ.พ. มาตรา 84
                 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อสายพานไว้จากพ่อค้าในท้องตลาดด้วยความสุจริต จำเลยพาตำรวจมายึดไปจากโจทก์ โดยอ้างว่า เป็นสายพานของจำเลยซึ่งถูกผู้ร้ายลักไป แล้วจำเลยได้รับสายพานนั้นคืนไปจากตำรวจ จึงขอให้จำเลยคืนสายพานหรือใช้ราคา 2,035 บาท ให้แก่โจทก์
                 ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่า "ท้องตลาด" ในบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 หมายความถึง ที่ชุมนุมแห่งการค้า เมื่อโจทก์อ้างว่าซื้อจากท้องตลาด โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบ แต่ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่า ร้านที่โจทก์ซื้อสายพานมาอยู่ในท้องตลาด โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดใช้ราคาทรัพย์สินที่ซื้อมา  พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  706/2492
    ป.พ.พ. มาตรา 1332
                 จำเลยที่ 2 ตั้งร้านขายของชำ และมีอาชีพทางรับเครื่องทองรูปพรรณที่ทำด้วยเงิน ทอง นาค จากร้านขายของเช่นนั้นไปจำหน่ายหากำไรบ้าง ขายเครื่องรูปพรรณของตนเองบ้าง จำเลยที่ 2 ปฏิบัติการค้าเช่นนี้เป็นอาจิณตลอดมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว จำเลยที่ 2 เคยติดต่อรับของจากร้านจำเลยที่ 1 ไปจำหน่าย
                ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นพ่อค้าขายทองรูปพรรณตามความหมายในมาตรา 1332 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 นำเข็มขัดนาคจากร้านของจำเลยที่ 1 มาขายให้โจทก์ และโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1130/2507
    ป.พ.พ. มาตรา 572, 1332
                  ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้นายเส็งเช่าไป จำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท
                 โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อทรัพย์สินจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโดยสุจริต และได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ทรัพย์สินนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า ในทำนองเดียวกันกับผู้ให้เช่าได้ขายทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่า จึงถือได้ว่าผู้เช่าซื้อเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น
                 แต่ตามความในมาตรา 1332  มิได้บัญญัติให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ หากแต่ให้มีสิทธิชนิดหนึ่งเท่านั้น คือ ให้มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์นั้นไว้ได้และไม่ต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
                ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบทะเบียนและให้จัดการใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียน เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชดใช้ราคาตามหน้าที่ของตน ศาลไม่อาจบังคับเรียกคืนทรัพย์สินนั้นจากโจทก์ได้
                พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่ 2 ที่จะเรียกทรัพย์รายนี้คืนตามสิทธิของตนต่อไป
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1120/2495
    ป.พ.พ. มาตรา 99, 1332
                 สลากกินแบ่งของรัฐบาลจัดว่า เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ ผู้ใดถือสลากย่อมถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ เว้นแต่จะมีเหตุแสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นมีไว้โดยไม่สุจริต
                ซื้อสลากกินแบ่งของรัฐบาลจากผู้มีอาชีพทางค้าขายสลากกินแบ่งโดยสุจริต ไม่ทราบว่า เป็นสลากของผู้อื่นที่รับไปจำหน่ายแล้วสูญหายไป โดยเจ้าของได้แจ้งความและอายัดกับสำนักงานสลากกินแบ่งไว้แล้ว ดังนี้ พออนุโลมเข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิได้รับรางวัล เมื่อสลากถูกรางวัลได้
                 ความเห็นของผู้บันทึก.-
                 กรณีปัญหา เจ้าของร้านทองรับซื้อทองคำจากคนร้ายในคดีอาญา โดยเจ้าของร้านทองได้รับอนุญาตให้รับซื้อของเก่าและมีการจดบันทึกบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กระทำผิดเอาไว้ เป็นการแสดงเจตนาสุจริต เมื่อเจ้าของร้านทองซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริต โดยไม่ทราบว่าทรัพย์ได้มาจากการกระทำผิด ย่อมไม่เป็นความผิดอาญาฐานรับของโจร
                 หากแต่เจ้าของร้านทองไม่ได้ซื้อจากการขายทอดตลาด หรือซื้อจากผู้ขายในตลาดทั่วไปซึ่งเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ และไม่ได้เป็นซื้อจากพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้นเป็นอาจิณ เพียงแต่เป็นการรับซื้อจากผู้ขายซึ่งนำมาขายให้แก่ร้านทองที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด
                 ดังนี้ เจ้าของทรัพย์ที่ถูกคนร้ายเอาทรัพย์ไป ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนได้ เจ้าของร้านจำต้องคืนทองคำที่ซื้อมานั้นให้แก่เจ้าของที่แท้จริง โดยไม่อาจเรียกให้เจ้าของทรัพย์ที่ขอรับคืนชดใช้ราคาที่ซื้อมาได้ แต่เจ้าของร้านจะต้องเรียกเอาจากคนร้ายให้ชดใช้ราคาทรัพย์นั้นคืน
                 หมายเหตุ.- กรณีข้างต้นอาจจะมีผู้ที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องนี้โดยตรง เพียงแต่ผู้เขียนอาศัยแนวคำพิพากษาฎีกาในคดีอื่นที่มีอยู่เดิมมาเทียบเคียง แต่ถ้าเห็นว่ามีข้อเท็จจริงใหม่ ผู้ที่ถูกโต้แย้งกรรมสิทธิ์ย่อมสามารถนำความไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อหาข้อยุติต่อไป
    การคืนธนบัตรของกลางคดียาเสพติด
    คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 8/2555
    พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ)
                 ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานสอบสวน ได้รับมอบธนบัตรที่ยึดมา เนื่องจากสงสัยว่าจะได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า จำนวน 1,314 ฉบับ รวมเป็นเงินจำนวน 453,490 บาท และได้ส่งไปตรวจพิสูจน์
                 ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์ ผู้ฟ้องคดีได้คืนธนบัตรให้แก่ผู้ที่ถูกยึดธนบัตรไป
                 ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ทราบผลการตรวจพิสูจน์ธนบัตรดังกล่าวจากกองกำกับการวิทยาการเขต ๙ จังหวัดนครสวรรค์ ว่ามีคราบยาเสพติดให้โทษติดอยู่ที่ธนบัตรทุกฉบับ กรณีจึงควรมีเหตุสงสัยว่าธนบัตรที่ตรวจยึดได้อาจเป็นทรัพย์ที่นาย ท. ได้มาโดยการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเป็นความผิดมูลฐาน ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งหากผู้ใดโอน รับโอน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มาซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้กระทำผิดฐานฟอกเงิน ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
                 ดังนั้น ธนบัตรที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจยึดจากบ้านพักของนาย ท. และได้ตรวจพิสูจน์พบว่ามีคราบยาเสพติดให้โทษชนิดเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าติดอยู่ที่ธนบัตรดังกล่าวทุกฉบับนั้น เป็นพยานหลักฐานสำคัญเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในภายหลัง ซึ่งอาจใช้พิสูจน์การได้มาของธนบัตร และคราบยาเสพติดที่ตรวจพิสูจน์พบบนธนบัตรดังกล่าว และนำไปสู่กระบวนการในการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ต่อไป
                แต่ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือและได้เก็บหนังสือฉบับดังกล่าวรวมไว้ในแฟ้มคดี โดยมิได้แจ้งหรือมิได้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือรายงานตามแบบท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 พ.ศ.2544 แต่อย่างใด
                การที่ผู้ฟ้องคดีคืนธนบัตรดังกล่าวให้แก่นาย ท. และภรรยาไปย่อมกระทบถึงการใช้ธนบัตรดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในภายหลัง และมีผลทำให้นาย ท. และภรรยาได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวของผู้ฟ้องคดี กรณีถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
                ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
    คำพิพากษาให้คืนทรัพย์สินแก่จำเลย
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3666/2553
    ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 85 วรรคสาม, 132 (4), 186 (9), 249
                   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง และ 132 (4) พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นและยึดสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนยึดทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องของโจทก์ไว้เป็นของกลาง จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 85 วรรคหนึ่ง และ 132 (4) ดังกล่าว และพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ต้องคืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม
                  จึงเห็นได้ว่า เมื่อทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้เพื่อการสอบสวนและดำเนิน



    shoes
    Please login for write message