0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,530,302 ครั้ง
Online : 61 คน
Photo

    รับเป็นทนายความว่าความทั่วประเทศไทย เขียนอุทธรณ์ ฎีกา คดีแพ่งคดีอาญา


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-06-17 10:37:16 (IP : , ,171.6.229.173 ,, Admin)
    Despacho Jurídico - Home | Facebook
    รับเป็นทนายความว่าความทั่วประเทศไทย เขียนอุทธรณ์ ฎีกา คดีแพ่งคดีอาญา
       บริการเป็นทั้งทนายความโจทก์ในการยื่นฟ้องคดี และทนายความจำเลยในการต่อสู้คดี รวมทั้งรับเป็นทนายโจทก์ร่วมในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี โดยคดีรับเป็นทนายความว่าความ ได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีที่ดิน คดีครอบครัว คดีจัดการมรดก คดีทรัพย์สินทางปัญญา และคดีอื่นๆ ทนายผู้เสียหายในคดีฟอกเงิน คดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ คดียาเสพติด
    รับเป็นทนายความชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา
       หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หากคู่ความประสงค์จะอุทธรณ์หรือฎีกา และต้องการทนายความในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา รับเขียนอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือเขียนฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ กรณีไม่ได้เป็นทนายความในท่านในศาลศาลชั้นต้น แต่ท่านมีความประสงค์จะเปลี่ยนทนายความในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ท่านจะต้องถอนทนายคนเดิมออกจากการเป็นทนายในคดีด้วย
    ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายและคดีความ
       ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายและคดีความโดยทนายความมืออาชีพ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดี ประเมินความเสี่ยงและผลของคดีตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทั้งก่อนที่จะเริ่มต้นฟ้องคดีในกรณีที่เป็นโจทก์ และกำหนดแนวทางการต่อสู้คดีในกรณีที่เป็นจำเลย และเรามีบริการให้คำปรึกษาในเชิงป้องกันสำหรับปัญหาที่ยังไม่เป็นคดีความแต่ต้องการหาทางออก โดยการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและคดีความทนายความจะให้คำปรึกษาด้วยการนัดเจอกันเพื่อตรวจดูเอกสารและสอบข้อเท็จจริง หรือทนายให้ปรึกษาทางออนไลน์ในกรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ซับซ้อนและเอกสารไม่มีปริมาณไม่เยอะ ทั้งนี้ ในการให้คำปรึกษาของทนายความ ทนายความทุกคนจะรักษาความลับและไม่เปิดเผยความลับของลูกความ
       ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับให้คำปรึกษาคดีความที่ท่านได้แต่งตั้งทนายความในศาลแล้ว และยังไม่ถอนทนายคนเดิมออกจากการเป็นทนายความในคดี
    รับเป็นทนายความชั้นสอบสวน (ชั้นตำรวจ)
       ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา บริการรับเป็นทนายความผู้เสียหายในการแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษและให้การในฐานะผู้เสียหาย และรับเป็นทนายความผู้ต้องหาในการยื่นคำให้การในชั้นสอบสวน(ชั้นตำรวจ) ซึ่งทั้งผู้เสียหายและผู้ต้องหาควรมีทนายความตั้งแต่ชั้นสอบสวนเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีหรือกำหนดแนวการต่อสู้คดี รวมทั้งแสวงหาและรวบรวมพยานวัตถุ พยานเอกสาร และพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งคำให้การและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ส่งให้พนักงานสอบสวนจะมีผลต่อคำสั่งของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการว่าจะมีสั่งฟ้องคดีหรือมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี
    บริการเขียนอุทธรณ์หรือ ฎีกาคดีอาญาขอให้ศาลรอการลงโทษ หรือลดโทษ
    การอุทธรณ์ ฎีกา ต้องยื่นภายใน ๑ เดือน นับแต่ศาลอ่านคำพิพากษา
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบ วิ.อาญา มาตรา 15  การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 235 และ 236
    จำเลยต้องมาแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์-ฎีกา
    วรรคสามและวรรคสี่ของมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517
    บัญญัติว่า
    ในกรณีที่ตามคำพิพากษาจำเลยต้องรับโทษจำคุกหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยไม่ได้ถูกคุมขัง จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์  ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาอาจออกข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงตนของจำเลยก็ได้ ข้อบังคับนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยได้รับการรอการลงโทษจำคุก หรือรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว
     
    เหตุผลในการขอให้ศาลลดโทษ บรรเทาโทษ หรือรอการลงโทษ
               มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
    เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
    (1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือหรือตักเตือนตาม ที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพหรือจัดให้ กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่ เจ้า พนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร
    (2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
    (3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไป สู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก
    (4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความ บกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด
    (5) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
    เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคก่อนนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดย ชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้า พนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้ กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจ แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนด เงื่อนไขข้อใด ตามที่กล่าวในวรรคก่อนที่ศาลยังมิได้กำหนดไว้ เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้
    เหตบรรเทาโทษหรือลดโทษตามกฎหมาย
    มาตรา 78  เมื่อ ปรากฏว่า มีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะ ได้มีการเพิ่ม หรือ การลดโทษ ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น แล้วหรือไม่ ถ้า ศาล เห็นสมควร จะลดโทษ ไม่เกิน กึ่งหนึ่ง ของ โทษที่จะลง แก่ ผู้กระทำความผิดนั้น ก็ได้
                เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ ผู้กระทำความผิด เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิด และ พยายามบรรเทาผลร้าย แห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อ เจ้าพนักงาน หรือ ให้ความรู้แก่ ศาล อันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา หรือ เหตุอื่น ที่ ศาล เห็นว่า มีลักษณะทำนองเดียวกัน
    ตัวอย่างกรณีที่ถือได้ว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ตามมาตรา 78
    1. ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
    การไม่รู้หนังสือและกฎหมายไทย ไม่มีญาติพี่น้องจะติดต่อขอความช่วยเหลือ ถือว่าตกอยู่ในความทุกข์อย่างแสนสาหัส คำพิพากษาฎีกาที่ 1244/2542
    2มีคุณความดีมาก่อน
     เช่น รับสารภาพชั้นสอบสวนและเคยช่วยเหลือราชการ มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 744/2521
    3. รู้สึกความผิด พยายามบรรเทาผลร้าย เช่น  พาผู้เสียหายมาคืนพร้อมเงินขอขมา และอยู่กินด้วยกัน ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่1665/2520  ช่วยยกรถจักรยานยนต์ที่ทับขาผู้เสียหาย ถือว่าพยายามบรรเทาผลร้าย มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 4197/2540  ชดใช้ค่าเสียหายและออกค่ารักษาพยาบาล เป็นเหตุบรรเทาโทษ  คำพิพากษาฎีกาที่ 5296/2540 ชดใช้เงินค่าเสียหายถอนคำร้องทุกข์ ถือว่าพยายามบรรเทาผลร้าย เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 5598/2540 อายุน้อย พฤติการณ์ไม่รุนแรง และและชดใช้ค่าเสียหาย ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่763/2541พฤติการณ์ที่นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล บอกชื่อสารพิษที่ผู้ตายกิน ออกค่ารักษาพยาบาล ถือว่าเป็นการบรรเทาผลร้าย  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2543 ศาลวินิจฉัยโดยมิได้แจ้งให้ผู้เสียหายรับเงิน ต้องคืนเงินจำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ 138/2547
    4. ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน เช่น ยินยอมให้จับกุม และมอบของกลางแก่เจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่479/2520  ยินยอมให้จับกุมและรับสารภาพทั้งที่ไม่มีประจักษ์พยาน เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษากาที่  29/2535  เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงาน เป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่347/2500, 262/2510, 1103/2510, 425/2512, 1449/2513, 1790/2521, 1465/2522, 2754/2524, 2100/2531, 2104/2533  แม้มีพยานหลักฐานที่สามารถนำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ โดยไม่ต้องใช้คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่พฤติการณ์ที่จำเลยยอมมอบตัว ทั้งที่มีอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนอยู่ เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1473/2544
    5. ให้ความรู้แก่ศาล เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
    กรณีที่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ         เช่น  จำเลยรับสารภาพชั้นจับกุมหรือสอบสวน เป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ( คำพิพากษาฎีกาที่ 1209/2521, 894/2525, 234/2530, 825/2530, 1963/2531, 108/2540) รับสารภาพก่อนสืบพยาน โดยมิได้จำนนต่อพยานหลักฐาน เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่1001/2512  จำเลยเบิกความรับบางประเด็น มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่  817/10, 31/2511, 2042/2515, 2033/2528, 2457/2530 รับสารภาพหลังจากสืบพยานจำเลยไปแล้วบางส่วน ก็มีเหตุบรรเทาโทษ (คำพิพากษาฎีกาที่3152/2538) จำเลยเบิกความทำนองรับสารภาพความผิด ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่3801/2543

     




    shoes
    Please login for write message