0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,703,331 ครั้ง
Online : 173 คน
Photo

    กฎหมายประกันภัย


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-02-15 12:58:23 (IP : , ,171.6.231.44 ,, Admin)
    Balance tool Icons | Free Download
    กฎหมายลักษณะ  ประกันภัย
    มาตรา 861 ได้วางหลักไว้ว่า “สัญญาประกันภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้สินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ในกรณีมีวินาศภัยเกิดขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นตกลงจะส่งเงินเบี้ยประกันภัย”
    โดยนัยของมาตรา 861 สามารถแยกหลักกฎหมายออกเป็น 2 หลักมาตรา ดังนี้
    มาตรา 861 ได้วางหลักเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ว่า “สัญญาประกันภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้สินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งในกรณีมีวินาศภัยเกิดขึ้น และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นตกลงจะส่งเงินเบี้ยประกันภัย”
    มาตรา 861 ได้วางหลักเกี่ยวกับการประกันชีวิตไว้ว่า “สัญญาประกันภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งในเหตุอย่างอื่นในอนาคตซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นตกลงจะส่งเงินเบี้ยประกันภัย”
    จากมาตรานี้ มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ
    1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ
    1.1  ระหว่างใช้สินไหมทดแทน กับส่งเงินเบี้ยประกัน (กรณีประกันวินาศภัย)
    1.2  ระหว่างใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ใช้ให้ กับส่งเงินเบี้ยประกัน (กรณีประกันชีวิต)
    2. เป็นสัญญาเสี่ยงภัย  อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดเวลาใด
    3. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเกี่ยวกับภัยที่เสี่ยงต่อผู้รับประกันภัย ตาม ม.865
    4. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ  แต่ถ้าจะฟ้องร้องบังคับคดีต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ม.867
    5. เป็นสัญญาที่รัฐควบคุมดูแล  เพราะกระทบต่อความผาสุกและความปลอดภัยของสาธารณชน
      ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย
    มาตรา 862 ได้กล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยไว้ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ
    (1) ผู้รับประกันภัย – คือคู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้
    (2) ผู้เอาประกันภัย – คือคู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย
    (3) ผู้รับประโยชน์ – กรณีประกันวินาศภัย คือบุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งอาจเป็นผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลอื่นตาม ม.374 , 375
    - กรณีประกันชีวิต คือบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจำนวนหนึ่งที่ใช้ให้ ซึ่งอาจเป็นผู้เอาประกันภัย บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวหรือธุรกิจ
      ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย
    มาตรา 863 ได้วางหลักไว้ว่า “ สัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”
    สาระสำคัญของมาตรานี้ ได้แก่
    (1) ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
    (2) ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั้น จะต้องมีอยู่ในขณะที่เกิดสัญญาประกันภัย
    (3) เมื่อมีส่วนได้เสียเช่นนั้น การประกันภัยย่อมผูกพันคู่สัญญา
    คำอธิบาย
    1. ผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายความว่า
    (1) ผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิ ประโยชน์ หรือความรับผิดตามกฎหมายซึ่งสามารถคำนวณหรือตีราคาเป็น
              จำนวนเงินได้
    (2) ผู้มีความผูกพันกับวัตถุที่เอาประกันภัย
    2. ผู้มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย กรณีประกันวินาศภัย  มีหลักพิจารณาว่า หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน มีผลทำให้ผู้ใดได้รับความเสียหายบ้าง ซึ่งได้แก่
    - ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน – ผู้เช่าซื้อ
    - เจ้าหนี้ (เจ้าหนี้จำนำจำนอง) – ผู้รับประกันภัยต่อ
    - ผู้รับเหมาก่อสร้าง – นายคลังสินค้า
    3. ผู้มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย กรณีสัญญาประกันชีวิต  มีหลักพิจารณาว่า
    (1) ผู้เอาประกันภัยเอาประกันชีวิตตนเอง เขาคือผู้มีส่วนได้เสีย
    (2) ผู้เอาประกันภัยเอาประกันชีวิตบุคคลอื่น ต้องมีความสัมพันธ์ถึงขนาดเรียกได้ว่ามีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลอื่นนั้น ซึ่งได้แก่
    - ผู้มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว เช่น คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน เป็นต้น
    - ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เช่น เจ้าหนี้กับลูกหนี้ นายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
    4. การมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั้น จะต้องมีอยู่ในขณะที่เกิดสัญญาประกันภัย ซึ่งหมายถึง ขณะที่ผู้รับประกันภัยเข้ารับความเสี่ยงตามที่ผู้เอาประกันภัยมีคำเสนอไปยังผู้รับประกันภัยนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีข้อพิจารณาอื่น ดังนี้
    (1) ขณะมีคำเสนอ ยังมีส่วนได้เสีย แต่ขณะเกิดสัญญา ไม่มีส่วนได้เสียแล้ว  ผลคือ สัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาแล้ว
    (2) ขณะมีคำเสนอ ยังไม่มีส่วนได้เสีย และไม่มีตลอดไปจนถึงขณะเกิดสัญญา  ผลคือ สัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ถึงแม้ว่าหลังเกิดสัญญาผู้เอาประกันจะกลายเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้วก็ตาม
    (3) ขณะมีคำเสนอ ยังมีส่วนได้เสีย และยังมีอยู่ตลอดไปจนถึงขณะเกิดสัญญา  ผลคือ สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันคู่สัญญาแล้ว ถึงแม้ว่าหลังเกิดสัญญาผู้เอาประกันจะกลายเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียแล้วก็ตาม
      สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง
    มาตรา 865 ได้วางหลักไว้ว่า “ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วว่าแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่ง นับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธิภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันทำสัญญาก็ดี สิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”โดยนัยของมาตรา 865 ว.1 สามารถแยกหลักกฎหมายออกเป็น 2 หลักมาตรา ได้ดังนี้
    มาตรา 865 ว.1 ได้วางหลักเกี่ยวกับประกันวินาศภัยไว้ว่า “ในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วว่าแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะ”
    มาตรา 865 ว.1 ได้วางหลักเกี่ยวกับประกันชีวิตไว้ว่า “ในสัญญาประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้น รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วว่าแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะ”
    คำอธิบาย
    1. ม.865 ว.1 บอกให้ทราบว่า สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้องมีการเปิดเผยและแถลงความจริง
    2. ผู้มีหน้าที่ต้องเปิดเผยและแถลงความจริงคือ
    (1) กรณีประกันวินาศภัย  ผู้เอาประกันภัย
    (2) กรณีประกันชีวิต  ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ถูกเอาประกันภัย
    3. เหตุที่จะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
    (1) รู้อยู่แล้วแต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยความจริง (การปกปิดความจริง)
    (2) รู้อยู่แล้วว่าข้อความที่แถลงนั้นเป็นความเท็จ
    4. ข้อความที่จะต้องเปิดเผยและแถลงความจริงนั้น จะต้องมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
    (1) ต้องเป็นข้อมูลที่ผู้รับประกันภัยต้องรู้ หรือควรจะรู้
    (2) ต้องเป็นข้อมูลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดว่า ถ้าผู้รับประกันภัยรู้จะปฏิเสธไม่ยอมรับ
         ประกันภัย หรือหากรับประกันภัยก็จะเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น
    5. ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ไม่ถือว่าเป็นข้อความสำคัญถึงขนาดทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเอาเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่รับประกันภัย เช่น
    - ป่วยเป็นโรคไส้เลื่อนมิใช่โรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายขาดได้
    - รถเคยถูกชนมาก่อน แต่ผู้เอาประกันภัยมิได้เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยทราบ
    6. ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ถือว่าข้อความอันเป็นสาระสำคัญถึงขนาดทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ เช่น
    - แถลงข้อความเท็จเรื่องอาชีพและเสียค่าเบี้ยประกันภัยเอง แต่ความจริงไม่มีอาชีพและผู้รับประโยชน์เป็นผู้เสียค่าเบี้ยประกันภัย
    - กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับเดิม ผู้เอาประกันชีวิตมีสุขภาพแข็งแรง เมื่อต่ออายุกรมธรรม์ผู้เอาประกันชีวิตทำใบรับรองว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงรู้อยู่ว่าป่วยเกี่ยวกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์ เป็นการปกปิดความจริง
    - เคยเข้ารักษาตัวด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาวไม่มีทางรักษาหาย แต่ปกปิดความจริง
    - ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือด แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริง
    - ป่วยเป็นโรคมะเร็งและเคยเข้ารับการผ่าตัด แต่ปกปิดความจริงไว้
    - ป่วยเป็นโรคตับแข็งและโรคในลำคออยู่ก่อน แต่ปกปิดความจริงไว้
    - กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความระบุว่า “ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้าง…” แต่ไม่ได้แจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่จ่ายให้ลูกจ้างไป เป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่เป็นสาระสำคัญ
    - ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองซึ่งเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด แต่ปกปิดความจริงไว้
    - รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคไตวายร้ายแรง แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริง
    - ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคตับแข็ง แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริง
    - ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคร้ายแรงรักษาไม่หาย แต่ปกปิดความจริงไว้
    7. สัญญาประกันภัยที่ตกเป็นโมฆียะ ตาม ม.865 ว.1 นั้น ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างได้ภายในกำหนดระยะเวลา ซึ่งระบุอยู่ใน ม.865 ว.2 ดังนี้
    - ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หรือ
    - ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา
    8. ในทางตรงข้าม ถ้าปรากฏว่าผู้รับประกันภัยได้รู้หรือควรจะรู้ถึงข้อความที่ผู้เอาประกันภัยได้ปกปิดไว้ หรือที่ได้แถลงอันเป็นเท็จไว้ โดยใช้ความระมัดระวังสอดส่องเยี่ยงวิญญูชน สัญญาประกันภัยนั้นย่อมสมบูรณ์ ตาม ม.866 ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิบอกล้างได้
    9. วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หมายความถึง แค่ทราบมูลเหตุก็เพียงพอที่ผู้รับ ประกันภัยจะบอกล้างได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอถึงวันที่ทราบความจริงตามที่นายแพทย์วินิจฉัย
    10. แม้ว่าเหตุวินาศภัยหรือเหตุที่กำหนดไว้ตามสัญญาจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อความที่ปกปิดความจริงไว้หรือที่แถลงอันเป็นเท็จก็ตาม ผู้รับประกันภัยก็ยังมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมได้
      สัญญาประกันภัยมีแบบหรือไม่
    1. สัญญาประกันภัยนั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีแบบแต่อย่างใด
    2. สัญญาประกันภัย เกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แม้ไม่มีหลัก ฐานเป็นหนังสือ ก็มีผลเป็นสัญญาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
    3. เพียงแต่ ม.867 ว.1 กำหนดไว้ว่า สัญญาประกันภัยนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของเขาเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
    4. การประกันภัยนั้น ม.867 ว.2 และ ว.3 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัย (กรมธรรม์ประกันภัยมิใช่สัญญาประกันภัย) มอบให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้ กรมธรรม์นี้จะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกัน และมีรายการแสดงไว้ 11 รายการ …ทั้งนี้ หากข้อความไม่ครบทั้ง 11 รายการ ไม่เป็นเหตุให้สัญญาประกันภัยเสียไป
    ประกันภัยมีกี่แบบ
    ประกันภัย ตามความหมายในมาตรา 861 แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
    1. แบบประกันวินาศภัย – เป็นการประกันความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงิน
    ได้ ตามที่ได้นิยามไว้ใน ม.869 เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม อุบัติเหตุ โจรปล้น
    2. แบบประกันชีวิต – เป็นการประกันความสูญเสียในชีวิตและร่างกายของบุคคลซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ แม้บางครั้งจะเจ็บป่วยให้ต้องรักษาพยาบาลเสียเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น ก็ไม่ใช่ค่าของชีวิต
    นอกจากนี้ ประกันวินาศภัย (บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ม.869 – 882) ยังจำแนกออกเป็น
    1. ประกันภัยในการรับขน (ม.883 – 886)
    2. ประกันภัยค้ำจุน (ม.887 – 888)
    สาระสำคัญเกี่ยวกับประกันวินาศภัย
    1. วินาศภัย ตาม ม.869 หมายถึง บรรดาความเสียหายใดๆ ที่สามารถประมาณเป็นจำนวนเงินได้
    2. วินาศภัย เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
    (1) เกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคล  หมายถึงบุคคลเป็นผู้ก่อวินาศภัยขึ้น ไม่ว่าจะโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือด้วยวิธีการงดเว้นการกระทำใดๆ เพื่อให้เกิดวินาศภัยนั้นขึ้น เช่น นาย ก.ขับรถไปชนรถยนต์ที่เอาประกันไว้ไม่ว่าจงใจหรือประมาท ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
    (2) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ   ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น
    - เกิดจากธรรมชาติ เช่น ลมพายุ ไฟไหม้ป่า น้ำท่วม แผ่นดิน ไหว ภูเขาไฟระเบิด
    - เกิดโดยสภาพ แต่ไม่ใช่การกระทำของบุคคล เช่น กำแพงที่มีอายุเก่าแก่ล้ม
    - เกิดจากของตกหล่นโดยธรรมชาติ
    - เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ที่กำลังจะเน่า
    - เกิดจากความเสื่อมสภาพของสารเคมี
    3. สัญญาประกันวินาศภัย ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องในค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน
    4. ลักษณะการประกันภัยหลายรายนั้น ม.870 และ ม.871 วางหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้คือ
    (1)  สาระสำคัญ
    - ผู้เอาประกันเป็นบุคคลคนเดียวกัน
    - วัตถุแห่งประกันภัยสิ่งเดียวกัน
    - เหตุแห่งความเสียหายเดียวกัน
    - ผู้รับประกันภัยต่างรายกัน (มากกว่า 1 ราย)
    - ระยะเวลาคุ้มภัยเดียวกัน
    (2) สัญญาประกันภัยทั้งหลายลงวันที่เดียวกัน ให้ถือว่าทำพร้อมกัน  เมื่อนำเงินซึ่งเอาประกันมารวมกันแล้ว มากกว่าค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้รับประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมเพียงเท่าค่าความเสียหายเท่านั้น โดยผู้รับประกันภัยแต่ละรายแบ่งความรับผิดตามส่วนที่รับประกันไว้
    (3) สัญญาประกันภัยทั้งหลายทำสืบเนื่องกันเป็นลำดับกัน  ผู้รับประกันรายแรกต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้ายังไม่พอกับค่าเสียหายอยู่เท่าใด ให้เรียกเอาจากผู้รับประกันรายถัดไปเช่นนี้จนกว่าจะคุ้มวินาศภัย
    (4) การทำสัญญาประกันภัยหลายราย ไม่ว่ากรณีใด ถ้าผู้เอาประกันภัยยอมสละสิทธิเรียก
    ร้องแก่ผู้รับประกันรายใด การชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นอันระงับไปเฉพาะรายนั้น ผู้รับประกันภัยรายอื่นยังต้องชำระค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนต่อไป
    5. ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิได้รับการชำระค่าเบี้ยประกันครึ่งหนึ่งตามสัญญาจากผู้เอาประกันภัย (ม.872)
    6. ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ปรากฏว่ามูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลง ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย และขอลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย (ม.873)
    7. คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ และต่อมาพิสูจน์ได้ว่าราคาที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินไป ผู้รับประกันภัยมีสิทธิขอลดค่าสินไหมทดแทน และคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันได้ตามส่วนพร้อมดอกเบี้ย (ม.874)
    8. ถ้าวัตถุที่เอาประกันไว้ต้องเปลี่ยนการครอบครองไปอยู่กับผู้อื่น จะโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยผลของกฎหมายก็ดี สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย (ม.875) ……แต่ถ้าวัตถุที่เอาประกัน ภัยนั้น เมื่อโอนไปอยู่กับบุคคลอื่นแล้ว เป็นผลให้การใช้วัตถุที่เอาประกันนั้นเปลี่ยนแลงไปและมีเสี่ยงภัยมากขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาประกันภัยนั้นเป็นโมฆะ
    9. กรณีที่ผู้รับประกันต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิเลือกจัดการกับสัญญาประกันภัยของตนได้ 2 ประการ คือ เรียกให้หาผู้รับประกันภัยรายใหม่ หรือบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้น (ม.876 ว.1)
    10. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นเสีย เว้นแต่ ผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันครบแล้ว ผู้รับประกันจะบอกเลิกสัญญาไม่ได้ (ม.876 ว.2)
    10. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการตีราคาวินาศภัย ผู้รับประกันรับผิดชอบ (ม.878)
    11. เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย (ม.879) คือ
    (1) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความทุจริตของผู้เอาประกันภัย
    (2) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
    12. กรณีที่วินาศภัยนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อผู้รับประกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันไปจำนวนเท่าใด ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก เพื่อจะไปเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกนั้น (ม.880)
    13. อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน (ม.882) กำหนดไว้ว่า
    (1) กรณีเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
    (2) กรณีเรียกให้ใช้เงินประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้ใช้
    (3) กรณีเรียกให้คืนเบี้ยประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้คืน
          สาระสำคัญเกี่ยวกับประกันภัยในการรับขน
    1. ประกันภัยในการรับขน คือสัญญาประกันภัยเพื่อคุ้มครองวินาศภัยที่เกิดขึ้นในการขนส่งสินค้าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งอาจมีการเสี่ยงภัยในระหว่างการขนส่ง (ม.883)
    2. สัญญาประกันภัยในการรับขน มีสาระสำคัญดังนี้
    - เป็นสัญญาที่สมบูรณ์เมื่อมีการรับขนสินค้า
    - เป็นสัญญาที่ไม่จำเป็นต้องระบุประเภทแห่งภัยที่ผู้รับประกันภัยเข้ารับเสี่ยงภัย
    - คุ้มครองตั้งแต่เวลาที่ผู้รับขนส่งได้รับของไป จนถึงส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง
    - ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประกันภัยใช้ตามจำนวนวินาศที่แท้จริง
    - ให้ตีราคาค่าสินไหมทดแทนตามราคาของที่ขนส่ง ณ ตำบลที่กำหนดให้ส่งของนั้น
    3. วินาศภัยต่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยซึ่งเกิดขึ้นจากการรับขน ได้แก่
    (1) การสูญหาย – สินค้านั้นหลุดไปจากการครอบครองของผู้ขนส่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เนื่องจากถูกไฟไหม้ ถูกปล้น ถูกขโมย ฯลฯ
    (2) การบุบสลาย – สินค้านั้นยังอยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่ง แต่สภาพของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เนื่องจากบุบสลาย แตกหักเสียหาย เสื่อมค่า เสื่อมราคา ขาดจำนวน ฯลฯ
    (3) ความล่าช้า – สินค้านั้นส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งล่าช้าหรือนานเกินควร ทำให้สินค้านั้นเน่าเสีย นำไปติดตั้งไม่ทันกำหนด ฯลฯ
    4. ถ้าของที่อยู่ระหว่างการขนส่งแล้วค่อยเอาประกันภัยทีหลัง กรณีเช่นนี้ให้คิดมูลประกันโดยนับรวมราคาของ ณ สถานที่และเวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของ ค่าระวางส่งของไปยังสถานที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่มี (ม.884)
    5. การขนส่งนั้น แม้ว่าระหว่างทางการขนส่งจะต้องสะดุดหยุดลงชั่วขณะก็ดี หรือจะต้องเปลี่ยนวิธีขนส่งโดยเหตุจำเป็นก็ดี ถือว่าสัญญาประกันภัยในการรับขนนั้นยังสมบูรณ์อยู่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น (ม.885)
    สาระสำคัญเกี่ยวกับประกันภัยค้ำจุน
    1. ประกันค้ำจุน คือสัญญาประกันความรับผิดของผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ 3 โดยตกลงกันว่า ให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลที่ 3 คนนั้น หากเกิดวินาศภัยขึ้นกับบุคคลที่ 3 หรือทรัพย์สินของบุคคลที่ 3 (ม.887 ว.1)
    2. ประกันภัยค้ำจุน จะเกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่าย คือ
    (1) ผู้รับประกันภัย – ผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลที่ 3 และการจ่ายดังกล่าวจะจ่ายในนามของผู้เอาประกันภัย
    (2) ผู้เอาประกันภัย – ผู้ก่อให้เกิดวินาศภัย และมีหน้าที่ต้องส่งเงินเบี้ยประกันแก่ผู้รับประกันภัย
    (3) บุคคลที่ 3 – ผู้เสียหายซึ่งได้รับผลแห่งวินาศภัย และมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากวินาศภัยนั้น
    ตัวอย่าง : นายแดงผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่ง ไปทำสัญญาประกันภัยเพื่อบุคคลที่ 3 กับบริษัทมอสอทอประกันภัย ดังนั้น บริษัทมอสอทอประกันจึงอยู่ในฐานะผู้รับประกันภัย หากนายแดงขับรถไปชนรถของนายเขียวจนเสียหาย บริษัทมอสอทอประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายเขียวผู้เสียหายแทนนายแดง เป็นต้น
    3. ถ้าความเสียหายนั้น มากเกินกว่าวงเงินที่ผู้รับประกันภัยได้ทำสัญญาประกันค้ำจุนกับผู้เอาประกัน ภัย ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลที่ 3 ไม่เกินกว่าวงเงินตามสัญญา หากบุคคลที่ 3 ไม่พอใจ ก็มีสิทธิยื่นฟ้องผู้รับประกันภัยต่อศาล โดยต้องเรียกผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วย (ม.887 ว.2)
    ตัวอย่าง : นายแดงผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันรถของตนเพื่อบุคคลที่ 3 ไว้ 100,00 บาท แล้วขับรถไปชนรถของนายเขียวจนได้รับความเสียหาย 150,000 บาท กรณีเช่นนี้ บริษัทมอสอทอประกันภัยจะจ่ายให้นายเขียวสูงสุดเพียง 100,000 บาท ถ้านายเขียวต้องการให้บริษัทฯ รับผิดชอบเงินส่วนที่เหลืออีก 50,000 บาท นายเขียวมีสิทธิยื่นฟ้องบริษัทฯ และจะต้องเรียกนายแดงเข้ามาสู่คดีด้วย
    4. เมื่อได้นำคดีขึ้นสู่ศาลแล้ว ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลที่ 3 ไม่คุ้มค่าเสียหายจริงซึ่งมากกว่า ผู้เอาประกันภัยยังต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่ เว้นแต่บุคคลที่ 3 ได้ละเลยโดยไม่ได้เรียกผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วย (ม.888)
    ตัวอย่าง : เมื่อนายเขียวยื่นฟ้องบริษัทมอสอทอประกันภัยแล้ว ปรากฏว่าศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่นายเขียวจำนวน 80,000 บาท ค่าเสียหายส่วนที่เหลืออีก 70,000 บาท นายแดงจะ ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าการยื่นฟ้องบริษัทฯ แล้วนายเขียวลืมเรียกให้นายแดงเข้ามาสู่คดี กรณีเช่นนี้ นายแดงไม่ต้องรับผิดชอบเงินส่วนที่เหลืออีก 70,000 บาท และนายเขียวจะไปเรียกร้องเอาจากใครไม่ได้เลย
    5. อายุความในสัญญาประกันค้ำจุน
    (1) ฟ้องผู้เอาประกันภัยฐานละเมิด มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด (ม.448)
    (2) ฟ้องผู้รับประกันภัยเรียกค่าสินไหมทดแทน มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่สิทธิจะเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นถึงกำหนด (ม.882)
    ตัวอย่าง : นายแดงขับรถชนรถของนายเขียวเป็นการทำละเมิด นายเขียวมีสิทธิยื่นฟ้องนายแดงในความผิดฐานละเมิดได้ภายใน 1 ปี แต่ถ้านายเขียวยื่นฟ้องนายแดงเกิน 1 ปีแล้ว ถือว่าขาดอายุความไปแล้ว กรณีเช่นนี้ บริษัทมอสอทอประกันภัยซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนนายแดง ย่อมหลุดพ้นความรับผิด ไปด้วย
                สาระสำคัญเกี่ยวกับการประกันชีวิต
    มาตรา 889 วางหลักไว้ว่า “การใช้จำนวนเงินในสัญญาประกันชีวิต ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง”
    การอธิบายความหมายของการประกันชีวิต ต้องอาศัย ม.889 และ ม.861 อธิบายควบคู่กัน ดังนี้
    ประกันชีวิต คือสัญญาซึ่งผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้รับประโยชน์ ในเมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ที่ถูกเอาประกันชีวิตไว้ได้ตายลง (ความมรณะ) หรือเมื่อผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ (ความทรงชีพ) และในการนี้ผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกันชีวิต
    จากความหมายของประกันชีวิตดังกล่าว สามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้
    (1) ต้องมีบุคคล 2 ฝ่าย เข้าร่วมตกลงกันทำสัญญา คือ ผู้เอาประกันชีวิตและผู้รับประกันชีวิต
    (2) ต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับความตายหรือความทรงชีพ
    (3) ผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกันชีวิต
    (4) ผู้รับประกันชีวิตตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับประโยชน์
          ลักษณะสำคัญของสัญญาประกันชีวิต คือ
    (1) เป็นสัญญาที่รัฐต้องควบคุมดูแล การประกอบกิจการจึงต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ
    (2) มิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่มุ่งจะช่วยเหลือผู้ซึ่งต้องอาศัยพึ่งพาผู้ตาย
    (3) ไม่จำเป็นต้องประมาณราคาส่วนได้เสียเป็นเงิน ผู้เอาประกันชีวิตสามารถตกลงกับผู้รับประกันชีวิตในจำนวนเงินมากน้อยเพียงใดก็ได้
    หากพิจารณาจาก ม.889 จะพบว่า การประกันชีวิตแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    (1) ประเภทซึ่งอาศัยความทรงชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นหลักในการใช้เงิน
    - เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต หากผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่จนถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้
    - หากผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดเวลาตามที่ ตกลงกันไว้ ผู้รับประกันชีวิตก็ไม่ต้องใช้เงินให้
    (2) ประเภทซึ่งอาศัยความมรณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นหลักในการใช้เงิน
    - เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้ตายลงภายในกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้
    - หากผู้เอาประกันชีวิตไม่ตายภายในกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ ผู้รับประกันชีวิตก็ไม่ต้องใช้เงินให้
    จะเห็นว่า การประกันชีวิตทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ต่างมีจุดอ่อน ทำให้ไม่มีคนสนใจในเรื่องการประกันชีวิต จึงเกิดการประกันชีวิตประเภทที่ 3 ในลักษณะผสม เรียกว่า การประกันชีวิตแบบสะสมทุนหรือสะสมทรัพย์ กล่าวคือ มีความคุ้มรอง มีการออมทรัพย์ และเป็นการลงทุน
    เกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับการประกันชีวิต มีดังนี้คือ
    1. การพิจารณาเกี่ยวกับการประกันชีวิต ต้องนำบทบัญญัติ ม.863 , 865 , 893 มาวินิจฉัยร่วมกัน
    2. การมีส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต ให้นำบทบัญญัติ ม.863 มาใช้บังคับ กล่าวคือ
    (1) ส่วนได้เสียนั้นต้องมีอยู่ในขณะทำสัญญาประกันชีวิต  สามีหรือภรรยาได้เอาประกันชีวิตของ
             ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไว้ แม้จะได้หย่าขาดจากกันไปในภายหลัง สัญญาประกันชีวิตที่ทำไว้นั้นยังคงผูกพันอยู่
    (2) ผู้ใดเอาประกันชีวิตของตนเอง ผู้นั้นคือผู้มีส่วนได้เสีย
    (3) ผู้ใดเอาประกันชีวิตของผู้อื่น ต้องพิจารณาว่าผู้นั้นต้องมีความสัมพันธ์กับบุคคลที่ตนจะเอาประกันชีวิตหรือไม่ ถ้ามีก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตัวอย่างเช่น
    - สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของกันและกัน
    - ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้นกัน ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของกันและกัน
    - บิดามารดากับบุตร ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของกันและกัน
    - พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย และลุง ป้า น้า อา ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตกับผู้เอาประกัน
    - สามีภรรยาอยู่กินกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของกันและกัน
    - บุตรนอกสมรสซึ่งบิดารับรองการเป็นบุตรแล้ว ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตกับบิดา
    - เจ้าหน้ามีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกหนี้
    - นายจ้างมีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกจ้าง
    - ผู้เป็นหุ้นส่วนมีส่วนได้เสียในชีวิตของกันและกัน
    3. การเปิดเผยข้อความจริงในการทำสัญญาประกันชีวิต ให้นำบทบัญญัติ ม.865 มาใช้บังคับ กล่าวคือ
    (1) ผู้เอาประกันชีวิตและผู้ถูกเอาประกันชีวิต มีหน้าที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงในการทำสัญญาประกันชีวิต
    (2) ข้อความจริงที่เปิดเผยนั้น จะต้องมีความสำคัญถึงขนาดทำให้ผู้รับประกันชีวิตเรียกเบี้ยประกันชีวิตสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตด้วย
    (3) ความสำคัญถึงขนาดเพียงใด ต้องถือตามความคิดเห็นของวิญญูชนทั่วไปเป็นหลัก
    (4) การเปิดเผยข้อความจริง ต้องกระทำในขณะทำสัญญาประกันชีวิต
    (5) ผู้เอาประกันชีวิตปกปิดความจริงเกี่ยวกับโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง และต่อมาผู้เอาประกันชีวิตนั้นถึงแก่ความตายด้วยโรคอื่น สัญญาประกันภัยยังคงเป็นโมฆียะ
    4. การแถลงอายุผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตคลาดเคลื่อน ให้นำบทบัญญัติ ม.893 มาใช้บังคับ กล่าวคือ
    มาตรา 893 วางหลักไว้ว่า “การใช้เงินโดยอาศัยเหตุความทรงชีพหรือมรณะข


    Please login for write message